วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

คุณลักษณะของมุสลิมในการประกอบอาชีพ

ด้วยพระนามของพระองค์ผู้ทรงเมตตากรุณา

อาชีพ ซึ่งถือเป็นสื่อสนองตอบความต้องการในการดำเนินชีวิต ได้จำกัดเวลาส่วนหนึ่งของมนุษย์เราไว้ อิสลามศาสนาที่สมบูรณ์มีเนื้อหาครอบคลุมทุกด้านในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำงานและการประกอบอาชีพต่างๆ ทางด้านเศรษฐกิจของมนุษย์ ในที่นี้จะมากล่าวถึงเกี่ยวกับแง่มุมต่างๆ ที่อิสลามได้มุ่งเน้นในเรื่องของการประกอบอาชีพ
1. ความสำคัญและคุณค่าของการประกอบอาชีพในทัศนะอิสลาม
การประกอบอาชีพ เพื่อสนองตอบความต้องการในการดำเนินชีวิตของครอบครัว ในทรรศนะอิสลามถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก และอิสลามได้ตอกย้ำประเด็นนี้ เรียกร้องเชิญชวนให้มนุษยชาติขวนขวายแสวงหาปัจจัยยังชีพจากการประกอบอาชีพ ท่านอิมามซอดิก (อ) ได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า “โอ้ฮิชามเอ๋ย หากเจ้าได้พบว่ากองทัพสองฝ่ายกำลังเผชิญหน้ากัน ดังนั้นเจ้าจงอย่างละทิ้งการแสวงหาปัจจัยยังชีพในวันนั้น”1 เช่นเดียวกัน ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า “การแสวงหาปัจจัยยังชีพที่อนุมัติ (ฮะลาล) เป็นหน้าที่จำเป็น (วาญิบ) เหนือชายและหญิงทุกคน”2
เพื่อเป็นการส่งเสริมมนุษยชาติในการประกอบอาชีพ อัลลอฮ์ผู้ทรงสูงส่ง ได้ทรงสัญญาที่จะอภัยโทษให้แก่บุคคลที่ใช้ความอุตสาหพยายาม ในการแสวงหาปัจจัยยังชีพมาใช้ในการดำเนินชีวิตครอบครัว
โดยที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “ผู้ใดก็ตามที่นอนหลับลงในยามค่ำคืน ในสภาพที่อ่อนเพลียจากการแสวงหาปัจจัยยังชีพที่อนุมัติ (ฮะลาล) เขานอนหลับลงในสภาพที่ได้รับการอภัยโทษ”3
ญิฮาด (การต่อสู้ในหนทางของพระผู้เป็นเจ้า) เป็นสิ่งที่มีความประเสริฐอย่างยิ่ง ในรายงานจำนวนมากจะพบว่า บุคคลที่อุตสาหพยายามแสวหาปัจจัยในการดำเนินชีวิตครอบครัว จะได้รับผลรางวัลเหมือนกับผู้ที่ต่อสู้ในหนาทางของพระผู้เป็นเจ้า
ดังที่ท่านอิมามริฎอ (อ) ได้กล่าวว่า “ผู้ซึ่งแสวงหาสิ่งที่จะสนองตอบความต้องการแก่ครอบครัวของตน จากความโปรดปรานของอัลลอฮ์ ยอ่มได้รับผลรางวัลที่ยิ่งใหญ่กว่าผู้ที่ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์”4
มีรายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ) เช่นกัน ซึ่งท่านกล่าวว่า “เมื่อชายผู้ขัดสนยากจนได้ทำงาน จนทำให้เกิดความพอเพียงต่อการเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวของเขา โดยที่เขามิได้แสวงหาสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) ใดๆ ดังนั้นเขาเพรียบได้ดังผู้ต่อสู้ (มุญาฮิด) ในหนทางของอัลลอฮ์”5
การขวนขวายแสวงหาปัจจัยยังชีพที่อนุมัติ (ฮะลาล) ได้รับความสำคัญเป็นพิเศษ ในการดำเนินชีวิตของบรรดามะอ์ซูม (ผู้บริสุทธิ์) โดยที่เราจะได้พบเห็นแบบอย่างของการขวนขวายอุตสาหพยายาม เพื่อสนองตอบในเรื่องการดำเนินชีวิตดังกล่าวนี้อยู่ในการดำเนินชีวิตของท่านทั้งหลายดังกล่าว
ท่านอิมามมูซา กาซิม (อ) ได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า “ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ท่านผู้นำแห่งศรัทธาชน อะลี (อ) และบรรพบุรุษของฉันทั้งหมดได้ทำงานด้วยมือของพวกท่านเอง ซึ่งนั่นคือ ส่วนหนึ่งจากการกระทำ (อะมั้ล) ของบรรดาศาสนทูตและบรรดาผู้ทรงคุณธรรม”6
ผู้รายงานกล่าวว่า ฉันได้เห็นท่านอิมามซอดิก (อ) ในสภาพที่ท่านกำลังถือพลั่ว สวมใส่เสื้อผ้าที่หยาบกระด้าง กำลังหมกมุ่นอยู่กับงานในไร่ ในสภาพที่เหงื่อไหลไคลย้อยจากใบหน้าและเรือนร่างของท่าน ฉันจึงกล่าวกับท่านว่า “ชีวิตของข้าพเจ้าขอพลีเพื่อท่าน โปรดส่งพลั่วให้ข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าจะทำงานให้ท่านเอง” ท่านอิมามได้กล่าวว่า “ฉันรักในการที่บุรุษจะได้รับความยากลำบาก ด้วยกับความร้อนของแสงแดดในการแสวงหาปัจจัยยังชีพ”7
ในรายงานบทหนึ่งจากท่านอิบนิ อับบาส ได้กล่าวถึงอาชีพต่างๆของบรรดาศาสดา ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการประกอบอาชีพ ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากในการดำเนินชีวิตของท่าน ในคำรายงานบทนี้ได้บอกให้รู้ว่า
อาชีพของท่านศาสดาอาดัม (อ) คือ การเพาะปลูก
อาชีพของท่าานศาสดาอิดรีส (อ) คือ ช่างเย็บเสื้อผ้า
อาชีพของท่านศาสดาฮูด (อ) คือ อาชีพพ่อค้า
และอาชีพของท่านศาสดาสุไลมาน (อ) คือ การสานเสื่อ เป็นต้น
2. คุณค่าต่างๆของการประกอบอาชีพ
ประเด็นที่สอง ในหัวข้อเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ก็คือ การประกอบอาชีพนอกจากจะเป็นการตอบสนองคามต้องการในการดำเนินชีวิตของมนุษย์แล้ว ยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกเช่นกัน ซึ่งเราจะชี้ให้เห็นจากส่วนหนึ่งจากบรรดาคุณประโยชน์ดังกล่าวโดยอาศัยรายงานต่างๆ
2.1 ความสงบมั่นทางด้านจิตใจ
การประกอบอาชีพคือ สื่อที่ทำให้จิตใจสงบมั่น และโดยตัวของมันเองแล้วยังเป็นการพักผ่อนประการหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้นภายใต้การทำงาน และด้วยกับการตอบสนองคามต้องการต่างๆ ทางด้านวัตถุ และการได้หลักประกันในการดำเนินชีวิตของมนุษย์แล้ว ยังทำให้ความสับสนและความทุกข์กังวลใจต่างๆจำนวนมากได้หมดไปจากเขา
ท่านอิมามอะลี (อ) ได้อ้างจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ซึ่งกล่าวว่า “มนุษย์นั้น หากมีความมั่นใจในการสนองตอบความต้องการของตนเองได้แล้วเขาก็จะสงบมั่น”8
ท่าานอิมามซอดิก (อ) ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า “ผู้ใดก็ตาม ที่ไม่อับอายย่อท้อจากการแสวงหาปัจจัยยังชีพ ความทุกข์ยากของเขาก็จะน้อยลง ความคิดของเขาก็จะสงบมั่น และครอบครัวเของเขาก็จะมีชีวิตอยู่อย่างผาสุก”9
2.2 การอภัยโทษจากพระผู้เป็นเจ้า
ภายไต้การแสวหาปัจจัยยังชีพสำหรับครอบครัวนั้น พระผู้เป็นเจ้าจะทรงจัดเตรียมสื่อแห่งการอภัยโทษ และคามสะอาดบริสุทธิ์จากความชั่วไว้สำหรับมนุษย์
ท่านอิมามซอดิก (อ) ได้อ้างจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ท่านกล่าวว่า “บุคคลใดก็ตาม ท่นอนหลับในยามค่ำคืนด้วยความเมื่อยล้า อันเกิดจากการแสวงหาปัจจัยยังชพท่อนุมัติ (ฮะลาล) เขานอนหลับในสภาพท่ได้รับการอภัยโทษ”10
2.3 ความรักจากพระผู้เป็นเจ้า และความพอเพียงจากบุคคลอื่น
การประกอบอาชพคือ สื่อนำมาซึ่งความรักจากพระเจ้า การอุตสาหพยายามเพื่อสนองตอบความต้องการในการดำเนินชีวิตของครอบครัว และการแสวงหาปัจจัยยังชพท่เป็นสิ่งอนุมัติ (ฮะลาล) จะเป็นสาเหตุทำให้พระผู้เป็นเจ้าทรงรักและถึงพอพระทัยในตัวมนุษย์ และยังทำให้ความต้องการในการพึ่งพิงผู้อื่นของเขาหมดไป
ท่านอิมามอะลี (อ) ได้กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย จงมุ่งมั่นสู่การค้าขายเถิด เพราะในการค้าขายนั้นจะทำให้พวกท่านพอเพยงจากสิ่งท่อยู่ใในมือของเพื่อนมนุษย์ และแท้จริงอัลลอฮ์ผู้ทรงเกริกเกียรติ ผู้ทรงเกรียงไกร ทรงรักผู้ประกอบอาชีพผู้มีความสุจริต”11
2.4 การรักษาไว้ซึ่งศาสนา
ช่างมากมายเหลือเกิน บรรดาผู้ที่ได้สูญเสียความศรัทธามั่น (อีมาน) ของตนไป อันเนื่อมาจากความยากจนและความขัดสน ความอุตสาหพยายามเพื่อแสวงหาปัจจัยยังชีพ คือ สื่อทำลายความยากจน และผลพวงอันเป็นธรรมชาติของมันก็คือ การพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งศาสนาและความศรัทธาของตนเอง
ท่านอิมามซอดิก (อ) ได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า “จงอย่าละทิ้งการแสวงหาปัจจัยชัพจากสิ่งอนุมัติ (ฮะลาล) เพราะแท้จริงมันจะช่วยเหลือท่านในการดำรงไว้ซึ่งศาสนาของท่าน”12
2.5 ความรอดพ้นจากไฟนรก
ความรอดพ้นจากไฟนรก คือประโยชน์อีกประการหนึ่งของการประกอบอาชีพ ซึ่งได้ถูกอ้างถึงในคำรายงาน (ริวายะฮ์) บางส่วน
ท่านศาสดามุฮัมมั (ศ็อลฯ) ได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า “ผู้ใดท่ทำเนินชีวิตด้วยความบากบั่น ด้วยน้ำมือของเขาเอง เขาจะข้ามผ่านสะพาน (ซิรอต้อมุสตะกีม) ด้วยความรวดเร็วดั่งสายฟ้าแลบ”13
ในรายงานอีกบทหนึ่งได้ปรากฎเช่นนี้ว่า ท่านอะนัส บินมาลิก กล่าวว่า ภายหลัจากที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กลับจากสงครามตะบูก ซะอัด อันซอรี ได้รีบออกมาต้อนรับท่าน และเขาได้สัมผัสมือกับท่าน ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ได้กล่าวกับเขาว่า
“อะไรได้เกิดขึ้นกับมือของท่านหรือ จนทำให้เกิดความหยาบกร้านเช่นนี้” ซอัดได้กล่าวว่า “โอ้ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ข้าพเจ้าได้ทำงานและแสวงหารายได้เพื่อการดำรงชีวิตของตนเองและครอบครัว โดยใช้เชือกและพลั่ว ด้วยเหตุดังกล่าวนี้เองมือของข้าพเจ้าจึงหยาบกร้าน”
ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้จูบมือของซะอัดพร้อมกับกล่าวว่า “น่แหละคือ มือซึ่งไฟนรกจะไม่สัมผัสกับมัน”14
2.6 ความสามารถในการให้ความช่วยเหลือบรรดาผู้ยากไร้
คุณประโยชน์อีกประการหนึ่งของการประกอบอาชีพก็คือ มนุษย์สามารถท่จะสร้างสรรค์และพัฒนาสังคมให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองได้ ด้วยผลแห่งความเหนื่อยยากของตนเอง และผลที่ได้รับจากความเหนื่อยยากของตนนี้สามารถนำไปช่วยเหลือเกื้อกูลเด็กกำพร้าและผู้ยากไร้ขัดสน
ท่านอิมามซอดิก (อ) กล่าวว่า “ท่านอิมามอะลี (อ) ใช้พลั่วชุบชีวิตแผ่นดิน และผลที่ได้รับจากความเหนื่อยยากของท่าน ท่านได้ปลอปล่อยทาสจำนวนนับพันคน”15
มนุษย์ที่ไม่ประกอบอาชีพ็จะไม่มีปัจจัย ไม่มีโอกาสท่จะมีส่วนร่วมในการเช่วยเหลือเกื้อกูลต่างๆ ทางด้านสังคม นอกเหนือจากที่กล่าวไปแล้ว การประกอบอาชีพ ยังมีคุณประโยชน์อื่นๆอีก ซึ่งมีปรากฎในรายงานบางส่วน และที่สำคัญที่สุดของบรรดาคุณประโยชน์ของการประกอบอาชีพที่มีต่อสังคมได้แก่การสกัดกั้น การขอทาน การลักขโมย การหย่าร้างและความเสื่อมทรามต่างๆทางสังคม
3.ผลร้ายของการว่างงาน
อีกประการหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต้องชี้ให้เห็นเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ นั่นคือประเด็นที่เกี่ยวกับผลพวงที่เลงร้ายต่างๆของการว่างงาน ในส่วนนี้เราจะอธบายถึงแง่มุมหนึ่งของมันโดยพิจารณาจากรายงานต่างๆ
3.1 เป็นที่เกลียดชังของอัลลอฮ์ (ซ.บ)
ดังที่ทราบว่า การประกอบอาชีพนั้น เป็นที่รักยิ่ง ณ อัลลอฮ์ (ซ.บ) ดังนั้น ในทางกลับกันการไม่ทำงานก็คือ สาเหตุแห่งความโกรธกริ้วของพระองค์ ท่านอิมาม บากิร (อ) ได้กล่าวว่า “ท่านศาสดามูซา บุตรของอิมรอน ได้ทูลถามต่อพระผู้เป็เจ้าในนการภาวนาขอพรของท่านว่า บ่าวคนใดเป็นที่เกลียดชังยิ่ง ณ พระองค์ พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสตอบว่า บุคคลซึ่งในยามค่ำคืนเขา (นอนหลับใหล) เหมือนคนตาย และในยามกลางวันเขาไม่ทำงาน”16
3.2 เป็นที่เกลียดชัง ณ ท่านศาสดาและบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์
การประกอบอาชีพ นำมาซึ่งความรักจากท่าานศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และบรรดาอิมาม (อ) และผู้ที่ประกอบอาชีพนั้น เป็นที่ยกย่องเทิดทูนในทัศนะของพวกท่านเหล่านั้น ในทางตรงกันข้าม การง่างงานและผู้ที่ไม่ยอมทำงานประกอบอาชีพ ย่อมเป็นผู้ที่ถูกตำหนิและชิงชัง ณ พวกท่านเหล่านั้น
วิถีการดำเนินชีวิตของท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ก็คือ ทุกครั้งที่ท่านมองเห็นบุคคลใด ท่านจะถามว่า “ชายผู้นี้มีอาชีพการงานหรือไม่” ถ้าหากพวกเขาตอบว่า “เขาไม่มีอาชีพการงานใดๆ” ท่านจะกล่าวว่า “เขาไม่อยู่ในสายตาของฉัน” จะมีผู้กล่าวต่อท่านว่า “เหตุผลอันใดที่ทำให้เขาไม่อยู่ในสายตาของท่าน” ท่านจะกล่าวว่า “เพราะเหตุว่าผู้ศรัทธา (มุอ์มิน) คนหนึ่ง เมื่อเขาไม่มีอาชีพการงาน เขาก็จะดำเนินชีวิตอยู่ด้วยกับการขายศาสนาของเขา”17
ท่านอิมามบากิร (อ) ได้กล่าวว่า “แท้จริงแล้ว ฉันรังเกียจบุรุษที่เกียจคร้านจากการงานแห่งโลกนี้ (ดุนยา) ของเขา และผู้ใดก็ตามที่เกียจคร้านจากการงานแห่งโลกนี้ของเขา ดังนั้นเขาย่อมเป็นผู้เกียจคร้านยิ่งกว่าจากกิจการงานแห่งปรโลกของตน”18
3.3 การขอพร (ดุอาอ์) ของผู้ที่ไม่ทำงานจะไม่ถูกตอบรับ
ผลพวงอันเลวร้ายอีกประการหนึ่งของการไม่ทำงาน คือการขอพร (ดุอาอ์)ของคนที่ไม่ประกอบอาชีพการงานนั้นจะไม่ถูกตอบรับ ท่านอิมามซอดิก (อ) ได้รายงานจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ซึ่งท่านกล่าวว่า “บุคคลหลายจำพวกที่การขอพรของเขาจะไม่ถูกตอบรับ ซึ่งได้แก่บุรุษผู้ซึ่งนั่งอยู่ในบ้านของตน โดยกล่าว (วิงวอน) ว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ ได้โปรดประทานปัจจัยยังชีพให้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด” อัลลอฮ์ (ซ.บ) จะทรงกล่าวกับบุคคลเช่นนั้นว่า “ข้ามิได้บัญชาให้เจ้าทำการแสวงหาดอกหรือ...”19
3.4 ความแปดเปื้อนต่อสิ่งชั่วร้าย
การไม่ประกอบอาชีพการงาน คือสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่ความเสื่อทรามทางด้านสังคม และบุคคลที่ไม่ประกอบอาชีพการงานนั้นมีโอกาสที่จะนำตัวเองเข้าสู่ความเสื่อมทรามทางสังคมได้ต่างๆนานา ตัวอย่างเช่น การติดยาเสพติด การลักขโมยและอื่นๆ
ท่านผู้นำแห่งศรัทธาชน อะลี(อ) ได้กล่าวว่า “แม้ว่าอาชีพการงานจะนำมาซึ่งความเหนื่อยยาก แต่การง่างงานก็คือ สิ่งที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมทรามต่างๆ”20
4. ช่วงเวลาของการทำงาน
อีกประเด็นหนึ่งที่จำเป็นต้องกล่าวถึงในที่นี้ก็คือ เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องของเวลาและชั่วโมงการทำงาน ในคำรายงานต่างๆ ได้แนะนำบางช่วงเวลาว่าเป็นที่เหมาะสมกว่าสำหรับการทำงาน ตัวอย่างเช่น
4.1 ช่วงเวลาเช้าตรู่
ช่วงเวลาเช้าซึ่งมนุษย์เราได้ใช้เวลาหลายชั่วโมงในการพักผ่อน การนอนหลับในยามค่ำคืนได้ทำให้ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าต่างๆที่เกิดจากการทำงานในช่วงกลางวันที่ผ่านมาหมดไปจากเขา ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่เขาจะเริ่มต้นภารกิจและความพยายามครั้งใหม่ของเขา
ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย จงแสวงหาปัจจัยยังชีพและความต้องการทั้งหลายตั้งแต่เช้าตรู่ เพราะช่วงเวลาเช้าตรู่นั้นมีความจำเริญ (บะรอกัต) และเป็นสื่อนำสู่ความสำเร็จ”21
ท่านอิมามอะลี (อ) ได้กล่าวในเรื่องนี้ไว้เช่นกันว่า “การแสวงหาปัจจัยยังชีพตั้งแต่เช้าตรู่ จะช่วยเพิ่มพูนปัจจัยยังชีพ (ริษกี)”22
เช่นเดียวกันนี้ ท่านอิมามซอดิก (อ) กล่าวว่า “ท่านทั้งหลายจงแสวงหาปัจจัยยังชีพตั้งแต่เช้าตรู่ และจงมุ่งแสงหาสิ่งอนุมัติ เพราะแท้จริงอัลลอฮ์จะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกท่าน และจะทรงช่วยเหลือพวกท่านบนสิ่งนั้น”23
4.2 ถิ่นฐานบ้านเกิดเมืองนอน
ตามรายงานต่างๆ ส่วนหนึ่งจากบรรดาสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการประกอบอาชีพ และการทำงาน นั่นคือบ้านเกิดและถิ่นฐานที่ใช้ชีวิตอยู่ มนุษย์เรานั้นมีจิตใจผูกพันอันเป็นเฉพาะต่อบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง และมีความรู้สึกที่สงบมั่นในสถานที่แห่งนั้น ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เอง เขาสามารถที่จะปฏิบัติงานและดำเนินภารกิจของตนเองได้ด้วยสภาพจิตที่ดีกว่า
ท่านอิมามซัจญาด (อ) ได้กล่าวว่า “แท้จริงส่วนหนึ่งจากความไพบูลย์ของคนเรา คือการที่สถานที่ประกอบอาชีพของเขาอยู่ในบ้านเกิดของเขา”24
และท่านอิมามซอดิก (อ) กล่าวว่า “สามประการถือเป็นส่วนหนึ่งจากความไพบูลย์และความโชคดี (ของคนเรา) นั่นคือ ภรรยาที่เชื่อฟังปฏิบัติตามสามีบรรดาลูกๆที่มีคุณธรรม (ทำดีต่อเขาทั้งในยามที่เขามีชีวิตอยู่และตายลง) และชายผู้ซึ่งได้รับปัจจัยยังชีพของเขา (จากอัลลอฮ์) ในแผ่นดินของตนเอง โดยที่เขาจะได้กลับมาอยู่กับครอบครัวของเขานับตั้งแต่ยามเย็นจนถึงเช้าตรู่”25
อย่างไรก็ตามเป็นที่ชัดเจนว่า หากคนเราจำเป็นต้องกจากบ้านเกิดเมืองนอนไปเพื่อแสวงหาปัจจัยยังชีพให้แก่ครอบครัวของตนเแล้ว ไม่ต้องสงสัยเลยว่า เขาได้ปฏิบัติสิ่งที่ดีงามและน่าสรรเสริญยิ่งแล้ว
4.3 ทุกๆวันของสัปดาห์ยกเว้นวันศุกร์
ในคำรายงานต่างๆได้ห้ามการทำงานและการะประกอบอาชีพในวันศุกร์ โดยเฉพาะอย่างอย่างในช่วงเวลาของการนมาญุมุอะฮ์ และได้เน้นย้ำว่าในวันนี้มนุษย์เราควรจะต้องพักผ่อนและเพิ่มพละกำลังให้กับตัวเองด้วยการผูกสัมพันธ์กับเครือญาติ
ในคัมภีร์อัล กุรอานได้กล่าวว่า
“โอ้มวลผู้ศรัทธาทั้งหลาย เมื่อผู้ประกาศเรียกร้องสู่การนมาซในวันศุกร์ ดังนั้นพวกเจ้าก็จงรีบเร่งสู่การรำลึกถึงพระองค์เถิด และพวกเจ้าจงละทิ้งการค้าไว้ก่อน สิ่งนั้นย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าสำหรับพวกเจ้า หากพวกเจ้ารู้” (บทอัล ญุมุอะฮ์ โองการที่9)
ท่านอิมามซอดิก (อ) กล่าวไว้เช่นกันว่า “ผู้ใดก็ตามได้จ้างลูกจ้างคนหนึ่งทำงาน หลังจากนั้นได้กกักขังลูกจ้างไว้จากการนมาวันศุกร์ เขาจะได้รับโทษทัณฑ์ และหากเขามิได้กักขังลูกจ้างไว้ (จากการเข้าร่วมในการนมาซวันศุกร์) บุคคลทั้งสอง (ลูกจ้างและนายจ้าง) จะมีส่วนร่วมในภาคผล (ของการนมาซนั้น”26
เช่นเดียวกันนี้ ตามคำรายงานบางบทเป็นสิ่งสมควรอย่างยิ่งที่มุสลิมจะทำตัวให้ว่างเปล่าจากการประกอบอาชีพและการทำงานในวันศุกร์ เพื่อแสวงหาความรู้และความเข้าใจในเรื่องของศาสนา
ท่านอิมามซอดิก (อ) ได้รายงานววจนะ (ฮะดีษ) บทหนึ่งจากท่านศาสดา มุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ซึ่งกล่าวว่า “ช่างน่าอนาถใจเสียเหลือเกินสำหรับมุสลิมทุกคนที่เขามิได้ทำให้ทุกๆวันศุกร์ เป็นวันที่พวกเขาจะแสวงหาความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนา และสอบถามในเรื่องราวของศาสนา”27
ในส่วนท้ายของเนื้อหาเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ของการทำงาน จำเป็นต้องกล่าวว่า ในยามค่ำคืนนั้นเป็นเวลาสำหรับการพักผ่อน แต่ในบางกรณีการทำงานในช่วงเวลากลางคืน อาจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์เรา เนื่องจากเหตุผลต่างๆ ซึ่งกรณีเช่นนี้ก็มิได้ขัดแย้งใดๆ ต่อหลักคำสอนของอิสลาม
ท่านอิมามซอดิก (อ) กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “บางครั้ง คนเราจำเป็นต้องประกอบอาชีพและทำงานในเวลากลางคืน ด้วยเหตุที่พวกเขาไม่สามารถทำงานทั้งหมดของตนเองให้เสร็จสิ้นในเวลากลางวันได้ หรืออาจด้วยเหตุผลที่ว่าความร้อนระอุของกลางวัน ทำให้พวกเขาไม่สามารถทำงานในช่วงกลางวันได้ ด้วยเหตุนี้ภาจใต้แสงสว่างของแสงจันทร์ยามค่ำคืน ทำให้พวกเขาสามารถทำงานต่างๆได้ พระผู้เป็นเจ้าได้บันดาลแสงสว่างของดวงจันทร์ไว้ด้วยเหตุผลดังกล่าว”28

ต่อฉบับหน้าค่ะ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น