วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ชีวิตการแต่งงาน


ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ผู้ทรงเมตตาเสมอ
การแต่งงานเป็นพิธีกรรมการยืนยันของความรักระหว่าง หนึ่งชายและหนึ่งหญิง ที่พร้อมและตกลงจะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ในพิธีกรรมนี้ยังเป็นเสมือนการให้สัตยาบันซึ่งกันและกันของทั้งสองฝ่าย ว่า "จะรักษาความรัก และจะให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และจะอยู่เคียงข้างกันตลอดไป ไม่ว่าจะเกิดอุปสรรคใดก็ตาม" ซึ่งแน่นอน สาเหตุของการเกิดพิธีกรรมนี้ ก็เริ่มมาจากความรักที่ทั้งสองมีให้กัน นอกจากความรักแล้ว ความคล้ายคลึงที่ทั้งคู่มี และความเข้ากันได้ยังเป็นสาเหตุของพิธีกรรมนี้อีกด้วย. แต่ความรักและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ความรู้สึกดีๆนี้ จะสร้างให้คงอยู่ไปตลอดได้อย่างไร? สำหรับมนุษย์ทุกๆคนแล้ว การที่จะจินตนาการสิ่งดีๆ หรือชีวิตที่ดี เกี่ยวกับชีวิตการแต่งงานนั้น จำเป็นต้องมีแบบอย่าง และสัมผัสแบบอย่างที่ดีเหล่านั้น ถึงจะทำให้เกิดการจินตนาการและการปฏิบัติที่ดีต่อกันและกัน และสำหรับมนุษย์ทุกๆคนที่อัลลอฮ์ (ซ.บ) ทรงบันดาลให้เป็นคู่ๆนั้น หากต้องการความสมบูรณ์ในชีวิต ก็ต้องหาแบบอย่างจากบุคคลที่พระองค์ทรงอนุญาติให้พวกเขานั้น เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตให้กับมนุษย์ทุกคน.
ข้อปฏิบัติ 7ประการสำหรับชีวิต
1.ช่วยเหลือตักเตือนซึ่งกันและกันในการปฏิบัติอะมั้ลทั้งวาญิบ และมุสตะหับ
คู่สามีและภรรยาที่มีเป็นมุสลิมและมีความศรัทธาต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ)ซึ่งเป้าหมายของการแต่งงาน และการใช้ชีวิตคู่ของพวกเขานั้นคือการเป็นบ่าวที่ดีครั้งที่ท่านนบี (ซ.ล) ถามจากท่านอิมามอะลี (อ) ถึงท่านหญิงฟาติมะห์ (ซ)ว่า "ท่านเห็นว่าฟาติมะห์เป็นอย่างไร?" ท่านอิมามอะลี (อ)กล่าวตอบว่า "นางคือเพื่อนที่ดีที่สุดในหนทางแห่งการเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ)"รายงานหนึ่ง จากท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล) กล่าวว่า "เมื่อสามีทำการปลุกภรรยาของเขาในยามค่ำคืน และทั้งสองได้ทำน้ำนมาซและทำการนมาซร่วมกัน เขาทั้งสองชายและหญิงจะถูกบันทึกไว้ว่าเป็นคู่ที่รำลึกถึงอัลลอฮ์ (ซ.บ) มากที่สุด" (มีซานุ้ลหิกมัต เล่มที่ 7 หน้าที่ 3149)
2. เมื่อสามีเหนื่อยจากที่ทำงานจะปฎิบัติต่อสามีอย่างไร?
2.1 ให้สลามพร้อมกับใบหน้าที่ยิ้มแย้ม
2.2 พูดคุยถึงข่าวที่ดีๆ
2.3 เก็ขข้าวของที่สามีซื้อมาจากข้างนอก
2.4 ทำให้บ้านสงบ
2.5 จัดแจงเรื่องอาหารให้พร้อม
2.6 ให้โอกาสต่อสามีในการพูดคุย
3. ถ้าหากสามีกลับบ้านช้า จะปฎิบัติกับเขาอย่างไร?
สาเหตุนี้มักจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งระหว่างคู่สามี และภรรยา ซึ่งในบางครั้ง ความวิตกกังวลของผู้หญิงนั้นมักจะทำลายความรู้สึกดีๆทุกอย่าง และอาจจะทำลายสภาพแวดล้อมของครอบครัวด้วยเช่นกัน ฉะนั้น ในการสอบถามสาเหตุของการกลับบ้านช้านั้น จำเป็นต้องมีพฤติกรรมและวาจาที่สุภาพ เพื่อแสดงออกถึงความกังวล และเป็นห่วง แต่ถ้ามีวาจาก้าวร้าว อารมณ์ที่ฉุนเฉียวนั้น ย่อมที่จะทำให้ผลที่ได้รับนั้นย่อมไม่ดีเท่าที่ควร.
ดังนั้นในทางกลับกัน การที่จะรักษาสภาพครอบครัวและจะไม่ให้เกิดความวิตกกังวลในผู้หญิง จำเป็นที่สามีต้องบอกถึงความล่าช้าจากเวลาปกติ เพื่อว่าการจัดเตรียมความพร้อมของบ้าน และอาหารจะเป็นที่ง่ายสำหรับผู้หญิงอีกด้วย เพียงสร้างความสบายใจให้แก่กันและกัน ปัญหาต่างๆก็ย่อมที่จะคลี่คลาย.
4. เมื่อสามีเกิดอาการขรึม จะปฏิบัติอย่างไร?
อาการขรึม เงียบ เมื่อเกิดขึ้นในครอบครัว แน่นอนย่อมจะไม่ใช่ผลดี หรืออาจทำให้เกิดความวิตกกังวลของทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นสามี หรือภรรยา หากมีอาการนี้เกิดขึ้น. แต่ที่สำคัญสำหรับผู้หญิงเอง เมื่อเห็นสามีมีอาการเช่นนี้ ก็มักจะคิดไปต่างๆนาๆ ว่าเรื่องคงเกี่ยวกับตัวเอง หรือทำอะไรให้เกิดความไม่พอใจ ดังนั้นจึง เกิดการซักถาม ซึ่งบางครั้ง กลายเป็นการสร้างความรำคาญให้กับสามี แต่อยากจะบอกกับบรรดาสามีทั้งหลายว่า ผู้หญิงนั้นมีสิทธิที่จะคิดเช่นนั้น เพราะความเอาใจใส่ และการดูแลทั้งหลายในบ้าน ล้วนเป็นของภรรยา ดังนั้น ปัญหาที่มีอยู่ในใจ หรือความไม่สบายใจต่างๆนั้น ควรมีการพูดจา หรือปรึกษาหารือกัน. ในอีกด้านหนึ่ง ก็อยากจะบอกกับบรรดาภรรยาทั้งหลายว่า ผู้ชายส่วนมาก ไม่ชอบที่จะให้ผู้หญิงมาพัวพันปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจากนอกบ้าน ดังนั้น เป็นการดีของทั้งสองฝ่าย ผู้หญิงควรให้เวลาแก่สามีในการคิด และพิจารณากับปัญหาที่กำลังครุ่นคิดอยู่ และให้โอกาสสามีเป็นผู้เอ่ยถึงปัญหาดังกล่าว หรือให้สามีเป็นผู้ขอคำปรึกษานั้น จะเป็นการดีกว่าที่ผู้หญิงจะเข้าไปซักไซร้ถึง อาการเงียบขรึมนั้น.
ต่อฉบับหน้าจ๊ะ