วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

คุณลักษณะของมุสลิมในการประกอบอาชีพ 2

5. มารยาทของการประกอบอาชีพและการทำงาน
ในเนื้อหาส่วนนี้อาศัยคำรายงานต่างๆ เราจะอธิบายถึงมารยาทต่างๆของการประกอบอาชีพและการทำงาน การทำงานในทัศนะของอิสลามนั้นมีมารยาทต่างๆ อันเป็นการเฉพาะ ซึ่งการระวังรักษามารยาทเหล่านี้นอกจากจะทำให้ได้รับความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุแล้ว ยังจะทไให้มนุษย์เราไปถึงการพัฒนาการอันสูงส่งทางด้านจริยธรรมอีกด้วย ต่อไปนี้จะขอกล่าวถึงบางส่วนของมารยาทเหล่านี้
5.1 จิตวิญญาณในการทำงาน
จิตวิญญาณดังกล่าวนี้จะช่วยยับยั้งมนุษย์จากการละโมบโลภมาก และจะช่วยเหลือเขาในการปฏิบัติงานในรูปลักษณ์ที่ถูกต้อง และใช้จ่ายรายได้จากการทำงานของตนไปด้วยความถูกต้องเหมาะสม
เราจะอ่านพบในจริยวัตรของท่านอิมามอะลี (อ) ว่า “ยามใดที่อิมาม (อ) ได้ว่างเว้นจากการต่อสู้ (ญิฮาด) ท่านก็จะหมกมุ่นกับการสอนและการตัดสินความแก่ประชาชน และทันทีที่เสร็จสิ้นจากภารกิจเหล่านั้น ท่านมีสนแห่งหนึ่ง ซึ่งท่านจะเข้าทำงานในนั้น และในสภาพดังกล่าวท่านก็จะง่วนอยู่กับการรำลึกถึงอัลลอฮ์”29
ตลาดคือ สถานที่จู่โจมแห่งหนึ่งของมารร้าย และเป็นไปได้ที่มันจะทำให้มนุษย์หลงลืมพระผู้เป็นเจ้าของเขา ในขณะที่การรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้านั้น จะก่อนให้เกิดจิตวิญญาณและสปิริตในการทำงาน และในสภาพเช่นนี้เองที่จะทำให้มนุษย์รู้สึกได้ว่าตนเองนั้น อยู่เบื้องหน้าพระพักตร์ขององค์อภิบาลของเขาเอง
5.2 การทำให้เกิดความสมบูรณ์ในการงาน
มารยาทประการหนึ่งของการทำงานก็คือ ภารกิจการงานที่คนเราได้รับและจะรับเอาค่าจ้างจากการปฏิบัติงานนั้นจะต้องกระทำให้ดีที่สุด และในช่วงเวลาเดียวกันนั้น จะต้องไม่ยุ่งเกี่ยงกับงานใดๆ อันจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิของนายจ้าง
อิสหาก บินอัมมาร ได้กล่าวว่า ฉันได้ถามท่านอิมามมูซา กาซิม (อ) ว่า “หากบุคคลหนึ่งได้รับจ้างบุคคลหนึ่งแล้ว เขาสามารถที่จะทำงานให้แก่บุคคลอื่นๆ ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นได้หรือไม่” ท่านอิมาม (อ) ได้ตอบว่า “หากนายจ้างอนุญาตก็ถือว่าไม่เป็นไร”30
ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวเช่นกันว่า “อัลลอฮ์ทรงรัก เมื่อการงานหนึ่งได้ถูกมอบหมายแก่ผู้ใด เขาผู้นั้นได้กระทำมันให้ดีที่สุด”31
5.3 การไม่หลงลืมจากการรำลึกถึงอัลลอฮ์
อีกประการหนึ่งจากมารายาทของการทำงานก็คือ มนุษย์เราจะต้องไม่หลงลืมจากการรำลึกถึงอัลลอฮ์อันเนื่องมาจากอาชีพการงาน ตัวอย่างเช่น การหมกมุ่นกับการทำงาน จะต้อไม่เป็นสาเหตุที่ทำให้เขาลืมการนมาซในช่วงเริ่มแรกในช่วงเวลาของมัน ท่านอิมามญะอ์ฟัร อัซซอดิก (อ) ได้อรรถาธิบายโองการที่ 37 ของบทอันนูร ซึ่งอัลลอฮ์ (ซ.บ) ได้ทรงตรัสว่า
“เหล่าบุรุษ ซึ่งการค้าขายไม่อาจทำให้พวกเขาหลงลืม จากการรำลึกถึงอัลลอฮ์ได้”
ท่านได้กล่าวเช่นนี้ว่า “พวกเขาคือ บรรดาพ่อค้าผู้ซึ่งการค้าและการขายไม่อาจทำให้พวกเขาหลงลืมจากการรำลึกถึงอัลลอฮ์ ผู้ทรงเกริกเกียรติ ผู้ทรงเกรียงไกร เมื่อเลาต่างๆของการนมาซได้มาถึง พวกเขาจะปฏิบัติตามสิทธิของอัลลอฮ์ (คือการนมาซ) ในเวลาของมัน” 32
ดังนั้น เป็นสิ่งที่สมควรยิ่ง สำหรับบรรดามุสลิมผู้ประกอบอาชีพต่างๆ พวกเขาจะหยุดพักจากการงานและดำรงนมาซในช่วงเวลาเริ่มแรกของมัน
5.4 การไม่ก้าวก่ายในการงานของผู้อื่น
ประเด็นนี้ ถือเป็นมารยาทที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการบริหารจัดการต่างๆ ท่านอิมามฮาดี (อ) ได้เขียนไว้ในจดหมายฉบับหนึ่ง ที่ส่งถึงบรรดาตัวแทนของท่านที่อยู่ในเมืองแบกแดด เมืองมะดาอิน และเมืองกูฟะฮ์ โดยมีใจความว่า “โอ้ อัยยุฐ บินนูห์เอ๋ย เป็นไปตามข้อกำหนด (ฮุกม์) นี้ เจ้าจงหลีกเลี่ยงจากการกระทบกระทั่งกับอบูอะลี เจ้าทั้งสองมีหน้าที่ปฏิบัติตามความรับผิดชอบต่างๆในขอบเขตเฉพาะของตนเองเท่านั้น...หากบุคคลใดได้นำเงินที่อยู่นอกเหนือขอบเขตของการรับผิดชอบของเจ้า มามอบให้ เจ้าก็จงออกคำสั่งให้ส่งมอบมันไปยังตัวแทนตามหัวเมืองของตน”33
บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ การแทรกแซงในหน้าที่รับผิดชอบต่างของผู้อื่นนั้น จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดความเสียหายในหน้าที่รับผิดชอบโดยรวมที่บุคคลอื่นปฏิบัติหน้าที่อยู่
5.5 การกำหนดค่าจ้างให้ชัดเจนก่อนการเริ่มปฏิบัติงาน
มารยาทอีกประการหนึ่งของอิสลามก็คือ ก่อนการทำงานจำเป็นต้องกำหนดค่าจ้างคนงานให้ชัดเจน
ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า “เมื่อคนหนึ่งคนใดจากพวกท่านว่าจ้างคนหนึ่งทำงาน ดังนั้นจงแจ้งเขาให้รู้ถึงค่าจ้างของเขา”34
และในรายงานอีกบทหนึ่ง ท่านอิมามซอดิก (อ) ได้กล่าวว่า “บุคคลใดก็ตามที่ศรัทธามั่นในอัลลอฮ์ และวันสิ้นโลก (กิยามะฮ์) ดังนั้นเขาจงอย่าว่าจ้างลูกจ้างให้ทำงาน เว้นแต่เขาจะต้องแจ้งให้รู้เสียก่อนว่าค่าจ้างของเขาเป็นอย่างไร...”35
ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า “ผู้ใดที่ปฏิบัติงานโดยปราศจากความรู้และความเข้าใจ เขาคือผู้สร้างความเสียหากมากกว่าที่จะก่อให้เกิดการแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น”36
ท่านอิมามซอดิก (อ) ได้กล่าวเช่นกันว่า “ผู้มีอาชีพการงานทุกคน จำเป็นต้องมีคุณลักษณะสามประการ เพื่อจะให้อาชีพการงานของเขาเจริญก้าวหน้าไปได้ นั่นคือ ประการแรก เขาจะต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในงานของเขา ประการที่สอง เขาจะต้องเป็นผู้ซื่อสัตย์ในหน้าที่การงานของตน และประการที่สาม เขาจะต้องสร้างความรักให้เกิดขึ้นแก่บุคคลที่เขาว่าจ้างให้ทำงาน”37
5.7 ความกล้าหาญและมีหัวใจมุ่งมั่น
ความกล้าหาญและการมีหัวใจที่มุ่งมั่น คือสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของความเจริญรุ่งเรืองของอาชีพการงาน และถือเป็นส่วนหนึ่งของมารยาทในการประกอบอาชีพและการค้าขาย
ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลน) ได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า “พ่อค้าที่ขาดความกล้าหาญนั้นย่อมไม่ได้รับ (ปัจจัยยังชีพ) และพ่อค้าที่มีความกล้าหาญจะได้รับโชคผล (ในการค้าขายของตน)”38
5.8 การรักษาคำมั่นสัญญา
การรักษาคำมั่นสัญญาคือ หน้าที่จำเป็น (วาญิบ) ประการหนึ่งของศาสนาอิสลาม และได้ถูกสั่งเสียไว้อย่างมากในเรื่องนี้ เช่นเดียวกันนี้ก็นับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาสัญลักษณ์ของมวลผู้ศรัทธา (มุอ์มิน) คุณลักษณะข้อนี้มีความสำคัญเป็นพิเศษ ในกรณีของการประกอบอาชีพและการทำงาน
ท่านอิมามบากิร (อ) กล่าวว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า “ความวิบัติจงมีแด่บรรดาผู้ประกอบอาชีพการงานจากประชาชาติของฉัน (ที่ไม่รักษาสัญญา) จากการพลัดวันประกันพรุ่ง”39
5.9 การมีจริยธรรมที่งดงามและมีใบหน้าที่ยิ้มแย้ม
ความเบิกบานคือ พฤติกรรมอย่างหนึ่งที่น่าสรรเสริญ และเป็นที่น่าสนับสนุนจากสติบัญญาและบทบัญญัติทางศาสนา ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติงานและการแสดงออกต่างๆ
ท่านอิมามซอดิก (อ) ได้กล่าวว่า “จริยธรรมที่งดามจะช่วยเพิ่มพูนปัจจัยยังชีพ (ริษกี)”40
และเช่นเดียวกันนี้มีรายงานว่า “และจงใช้ประโยชน์จากจริยธรรมอันสูงส่ง ในการค้าขายของท่าน และการกระทำต่างๆที่งดงาม อันจะยังประโยชน์แก่ศาสนาและ (การดำเนินชีวิต) ทางโลกนี้ (ของท่าน)”41
5.10 ความซื่อตรงและการมีสัจจะ
ความซื่อตรงและการมีสัจจะคือสิ่งที่จะก่อให้เกิดความไว้วางใจแก่บุคคลรอบข้าง และคุณลักษณะเช่นนี้หากมีอยู่ในกิจกรรมการเคลื่อนไหวต่างๆทางด้านเศรษฐกิจก็จะก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในกิจการนั้นๆ
ท่านอิมามซอดิก (อ) ได้สั่งเสียแก่สาวกคนหนึ่งของท่าน เกี่ยวกับการประกอบอาชีพและการทำงานเช่นนี้ว่า “เจ้าจงมีสัจจะในคำพูดของเจ้า และจงอย่าปิดบังข้อตำหนิที่มีอยู่ในการค้าขายของเจ้าและจงอย่าฉ้อโกง เพราะการฉ้อโกงในการค้านั้นคือ ดอกเบี้ย...แท้จริงพ่อค้าที่มีความซื่ตรงนั้นจะได้อยู่ร่วมกับบรรดาศาสนทูตผู้ทรงเกียรติ ผู้มีคุณธรรมในปรโลก (กิยามะฮ์)”42
5.11 การหลีกเลี่ยงจากการทำให้บกพร่องในปริมาณของสินค้า
พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งได้ทรงสัญญาการลงโทษต่อกลุ่มชนบางกลุ่มโดยเฉพาะไว้ในหลายๆโองการจากคัมภีร์ อัลกุรอาน และพระองค์ได้ทรงกล่าวประณามพวกเขาไว้โดยใช้รูปคำว่า “วัยล์”(ความวิบัติ) ซึ่งส่วนหนึ่งจากบุคคลเหล่านั้นคือผู้ที่ทำให้บกพร่องในปริมาณของสินค้า โดยพระองค์ได้ทรงตรัสว่า
“ความหายนะ ย่อมประสบแก่บรรดาผู้ที่บกพร่องในการชั่วตวง บรรดาผู้ซึ่งเมื่อพวกเขาตวงเอาจากผู้อื่น พวกเขาก็ตวงจนเต็ม แต่เมื่อพวกเขาตวงหรือชั่งให้แก่ผู้อื่น พวกเขาก็ทำให้พร่องลง” (บทอัล มุฎ็อฟฟิฟีน โองการที่ 1-3)
5.12 การเรียนรู้ข้อบัญญัติต่างๆของการประกอบอาชีพค้าขาย
การเรียนรู้ข้อบัญญัติต่างๆของการประกอบอาชีพค้าขาย จะช่วยป้องกันมนุษย์จากการจมปักอยู่ในดอกเบี้ยและสิ่งต้องห้ามอื่นๆ
ท่านอิมามซอดิก (อ) ได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า “บุคคลใดประสงค์จะทำการค้าขาย ดังนั้น เขาจงแสวงหาความรู้ความเข้าใจในศาสนาของเขา เพื่อว่าพวกเขาจะได้รู้และแยกแยะถึงสิ่งที่เป็นอนุมัติ (ฮะลาล) สำหรับเขา ออกจากสิ่งที่ต้องห้าม (ฮะรอม) เหนือพวกเขา และบุคคลใดก็ตามที่ไม่แสวงหาความรู้ความเข้าใจในศาสนาของเขา จากนั้นเขาได้ทำการค้าขาย เขาจะประสบกับสิ่งที่เคลือบแคลงสงสัยนานาประการ”43
อัซบัฆ บินนะบาตะฮ์ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านอะลี (อ) กล่าวว่า “โอ้บรรดาผู้ทำการค้าขายทั้งหลาย อันดับแรกพวกท่านจะต้องเรียนรู้ข้อบัญญัติต่างๆของศานาเกี่ยวกับการค้าขาย หลังจากนั้นจึงเข้าสู่การค้าขาย”
และท่านได้กล่าวเสริมต่อไปว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า ดอกเบียในประชาชาตินี้ เป็นสิ่งซอนเร้นยิ่งกว่าการคืบคลานของมดดำบนโขดหิน”44
5.13 การทำการค้ากับคนดีมีคุณธรรม
ส่วนหนึ่งจากมารยาทของการประกอบอาชีพและการงาน คือการที่มนุษย์จะใช้ความอุตสาหพยายามในการงางรากฐานการประกอบอาชีพค้าขายกับบุคคลที่มีคุณธรรม และจงหลีกเลี่ยงจากบรรดาคนชั่วและผู้ที่ไม่น่าไว้วางใจ
ท่านอิมามซอดิก (อ) กล่าวไว้ในเรื่องนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงอย่าคบค้าสมาคมและจงอย่าทำการค้าขาย นอกเสียจากกับบุคคลที่เติบโตขี้นมาบนความดีงาม”45
ท่านอิมามมูซา กาซิม (อ) ได้อ้างคำพูดจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ซึ่งกล่าวว่า “สี่ประการที่นับว่าเป็นส่วนหนึ่งจากความโชคดีของคนเรา ก็คือ บรรดาผู้ร่วมคบค้าสมาคมที่เป็นคนดี...46
5.14 การรักษาสิทธิต่างๆของเจ้าหนี้
ในหนังสือ “ตุฮะฟุล อุกูล” เราจะพบในหมวดที่ว่าด้วยสิทธิต่างๆของเจ้าหนี้ด้วยเนื้อหาดังนี้ว่า สิทธิของเจ้าหนี้ของท่านก็คือ หากท่านมีความสามารถก็จงใช้หนี้เขาและจงให้เขาอย่างพอเพียงโดยอย่าปฏิเสธหรือผัดผ่อนเขา เพราะแท้จริงท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า “กัรผัดผ่อนต่อเจ้าหนี้ของผู้ที่มีเงิน คือ การอธรรม และถ้าหากท่านไม่มีความสามารถก็จงทำให้เขาพึงพอใจด้วยการใช้วาจาที่ดีงาม (เพื่อขอผ่อนผัน)”47
5.15 การผ่นอปรนต่อลูกหนี้
คัมภีร์อัล กุรอานได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
“และหากเขา (ลูกหนี้) เป็นผู้ยากไร้ ดังนั้นก็จงรอคอยจนกว่าจะถึงคราวสะดวก และการที่พวกเจ้าจะ (ยกหนี้) ให้เป็นทานนั้นย่อมเป็นการดีกว่าสำหรับพวกเจ้าเอง” (บท อัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ 280)
5.16 การบันทึกหนี้สินและการกู้ยืม
การทำสัญญาและการจดบันทึกระหว่างสองฝ่าย ในการค้าขายและการดำเนินการต่างๆในทางธุรกิจนั้น นอกจากจะทำให้เกิดความมั่นคงชัดเจนในการดำเนินการแล้ว ยังจะช่วยป้องกันจากการเข้าใจผิดต่างๆซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย
คัมภีร์ อัลกุรอาน ได้กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย เมื่อพวกเจ้ากู้หนี้ยืมสินกันด้วยหนี้สินหนึ่งๆ โดยมีกำหนดเวลาที่แน่ชัด ดังนั้นพวกเจ้าก็จงบันทึกมัน และผู้บันทึกก็จงบันทึกในระหว่างพวกเจ้าด้วยความเที่ยงธรรม” (บท อัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ 282)
5.17 การรักษาสิทธิของหุ้นส่วน
บางครั้งเราอาจดำเนินการทางด้านธุรกิจของตนเอง โดยมีผู้ร่วมงานและหุ้นส่วนคนหนึ่งหรือหลายคน ในกรณีเช่นนี้อิสลามได้ตอกย้ำอย่างมากเกี่ยวกับการรักษาสิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนอย่างรอบคอบ
ในหนังสือ “ตุฮะฟุล อุกูล” ท่านอิมามซอดิก (อ) ได้กล่าวว่า “สิทธิของผู้ถือหุ้นส่วนก็คือ หากเขาไม่อยู่เจ้าก็จงตระหนักต่อเขา และหากเขาอยู่เจ้าก็จงปฏิบัติต่อเขาอย่างเท่าเทียมกัน และจงอย่ายึดเอาการตัดสินใจของท่านโดยไม่ใส่ใจต่อการตัดสินใจของเขา และจงอย่าปฏิบัติตามความคิดเห็นของท่านโดยไม่ปรึกษาหารือกับเขา และท่านจะต้องรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สินของเขา และจงละเว้นจากการทุจิริต และการไม่ซื่อสัตย์ต่อเขาไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มากหรือน้อยนิดก็ตาม แท้จริงเราได้รับรู้ว่าพระหัตถ์ของอัลลอฮ์นั้นอยู่กับหุ้นส่วนทั้งสอง ตราบที่เขาทั้งสองยังไม่บิดพลิ้วต่อกัน”48
5.18 การหลีกเลี่ยงจากดอกเบี้ย
ดอกเบี้ย คือ โรคร้ายที่ใหญ่หลวงนักของการค้าขายทั้งหลาย ซึ่งในศาสนาอิสลามได้ตอกย้ำถึงความเป็นที่ต้องห้าม (ฮะรอม) ของมันไว้อย่างมาก
ในคัมภีร์อัล กุรอาน อัลลอฮ์ (ซ.บ) ได้ทรงตรัสว่า
“อัลลอฮ์ทรงอนุมัติการค้าขาย และพระองค์ทรงห้าม (การกิน)ดอกเบี้” (บทอัล บะกอเราะฮ์ โองการที่ 275)
ในอีกโองการหนึ่ง พระองค์ทรงตรัสว่า
“...พวกเจ้าจงยำเกรงอัลลอฮ์ และจงละเว้นดอกเบี้ที่ยังเหลืออยู่ หากพวกเจ้าเป็นผู้มีศร้ทธา”(บทอัล บะกอเราะฮ์ โองการที่ 278)
และในอีกโองกาหนึ่ง อัลลอฮ์ (ซ.บ) ได้ทรงตรัสว่า
“และสิ่งที่พวกเจ้าได้ดำเนินการไปในเรื่องของดอกเบี้ย เพื่อจะให้มันเพิ่มพูนในทรัพย์สินของมวลมนุษย์นั้น ที่จริงแล้วมันหาได้พวกพูน ณ อัลลอฮ์ไม่” (บทอัรรูม โองการที่ 39)
5.19 ความเรียบง่ายและความพอเหมาะพอควร
ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า “ขออัลลอฮ์ทรงเมตตาบ่าวผู้มีความเรียบง่ายเมื่อทำการซื้อ และเป็นผู้เรียบง่ายเมื่อทำการขาย”49
ท่านอิมามอะลี (อ) ได้กล่าวเช่นกันว่า “ฉันได้ยินท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า ความเรียบง่ายในการค้าขายคือ สื่อหนึ่งของผลกำไร”50
5.20 การไม่ฉวยโอกาสจากวิกฤติการณ์ต่างๆ ทางด้านเศรษฐกิจ
ปัจจุบัน ส่วนหนึ่งจากบรรดาโรคร้ายทางเศรษฐกิจก็คือ การแสวงหาผลกำไรต่างๆอย่างไม่เป็นธรรม อันเนื่องมาจากการเกิดวิกฤติต่างๆทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ประเด็นดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นสาเหตุทำให้บุคคลบางกลุ่มที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์และกำไรที่มากกว่า จะเป็นผู้สร้างวิกฤติต่างๆในลักษณะเช่นนี้ขึ้นมา หรืออย่างน้อยที่สุดก็จะคอยต้อนรับกวิกฤติเหล่านั้น
ท่านอิมามซอดิก (อ) ได้มอบเงินจำนวนหนึ่งพันดีารให้แก่มุซอดิฟ คนรับใช้ของท่าน เพื่อเดินทางไปทำการค้าในแผ่นดินอียิปต์ เขาออกเดินทางไปยังแผ่นดินอียิปต์พร้อมด้วยบรรดาพ่อคาจำนวนหนึ่ง ใกล้ๆกับแผ่นดินอียิปต์ พวกเขาพบกับกองคาราวานหนึ่ง ซึ่งกำลังออกเดินทางกลับจากที่แห่งนั้น มุซอดิฟ และบรรดาพ่อค้าที่ร่วมเดินทางมากับเขาได้สอบถามชาวคาราวานนั้น เกี่ยวกับความต้องการของประชาชน ในสินค้าที่พวกเขานำมายังแผ่นดินอียิปต์ ชาวคาราวานนั้นได้ตอบพวกเขาว่า สินค้าดังกล่าวนี้กำลังขาดแคลนอย่างมากในแผ่นดินอียิปต์
มุซอดิฟและบรรดาพ่อค้าได้ตกลงร่วมกันว่า แต่ละหนึ่งดีนารของราคาสินค้า พวกเขาจะทำกำไรให้ได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งดีนาร (คือหนึ่งเท่าตัวของราคาสินค้า) พวกเขาได้ขายสิ้นค้าต่างๆของพวกเขา และเมื่อได้รับเงินพวกเขาก็มุ่งหน้าเดินทางกลับสู่มะดีนะฮ์ เมื่อพวพเขามาถึงนครมะดีนะฮ์ มุซอดิฟได้เข้าพบท่านอิมามซอดิก (อ) ในมือของเขามีถุงเงินสองสุง แต่ละถุงมีเงินอยู่จำนวนถุงละหนึ่งพันดีนาร
เขาได้กล่าวกับท่านอิมาม (อ) ว่า “ถุงหนึ่งนั้นคือต้นทุน และอีกถุงหนึ่งนั้นคือ กำไร”
ท่านอิมามซอดิก (อ) ได้กล่าวว่า “เจ้าทำอย่างไรจึงได้รับผลกำไรมากมายเช่นนี้” มุซอดิฟจึงเล่าเรื่องราวให้ท่านอิมามฟัง ท่านอิมามได้กล่าวว่า “มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่อัลลอฮ์” จากนั้นท่านได้หยิบถึงหนึ่งมาพร้อมกับกล่าวว่า “นี่คือ เงินทุนของฉัน และฉันไม่ต้องการผลกำไรเช่นนี้ โอ้มุซอดิฟเอ๋ย การทำสงครามด้วยดาบนั้น ง่ายเสียยิ่งกว่าการแสวงหาปัจจัยยังชีพที่อนุมัติ (ฮะลาล)”51
บทส่งท้าย
ในช่วงท้ายของเนื้อหาส่วนนี้ จำเป็นที่เราจะต้องกล่าวถึงประเด็นต่างๆบางส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพในทัศนะของอิสลาม
1. การหลีกเลี่ยงจากความละโมบ
การประกอบอาชีพเพื่อหารายได้ ในทัศนะของอิสลามนั้น มีความสำคัญอย่างมาก แตะกระนั้นก็ตาม ความละโมบก็เป็นสิ่งที่น่ำตำหนิอย่างมากเช่นเดียวกันในทัศนะของอิสลาม
ความละโมบจะเป็นตัวบีบบังคับมนุษย์ ให้แสวงหาทรัพย์สินเงินทองมากมายเกินขอบเขตของความจำเป็น คุณลักษณะดังกล่าวนี้เป็นลักษณะเฉพาะที่เด่นชัดที่สุดของบรรดาผู้ลุ่มหลงโลก (ดุนยา) มนุษย์ที่มีความละโมบนั้นไม่เคยมีความรู้สึกอิ่มและพอเพียง
ดังที่ท่านอิมามอะลี (อ) ได้กล่าวว่า “ผู้หื่นกระหายสองคนที่ไม่รู้จักอิ่มนั้น คือ ผู้แสวงหาความรู้และผู้แสวงหาทางโลก”52
เช่นเดียวกันนี้มีรายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ) อีกว่า “ผู้ที่ละโมบโลภมากนั้นตกอยู่ในบ่วงแห่งความต่ำต้อย”53
ความละโมบนั้น เกิดจากความลุ่มหลงอย่างรุนแรงที่มีต่อโลกและววัตถุหรือไม่ก็เกิดจากความไม่ไว้วางใจในพระผู้เป็นเจ้า มนุษย์ที่มีความเชื่อมั่นต่อพระผู้เป็นเจ้าเขาย่อมจะไม่เป็นผู้ละโมบ
คัมภีร์ อัล กุรอานได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า
“แท้จริง องค์พระผู้อภิบาลของเจ้า ทรงแผ่ปัจจัยยังชีพให้แก่บุคคลที่พระองค์ทรงประสงค์ และทรงกำจัด (แก่บุคคลที่ประองค์ทรงประสงค์) แท้จริงพระองค์ทรงรอบรู้ อีกทั้งทรงมองเห็นปวงบ่วของพระองค์” (บท อัล อิสรออ์ โองการที่ 30)
การประกอบอาชีพการงานบางอย่าง ที่ไม่เป็นที่อนุญาตในทัศนะของอิสลาม ทรัพย์สินเงินทองที่ได้มาจากการประกอบอาชีดังกล่าว ถือเป็นสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) ตัวอย่างเช่น การซื้อขายสุรา รายได้ที่เกิดจากการกินดอกเบี้ย รายได้ที่เกิดจากการซื้อและการขายสิ่งต่างๆ ซึ่งการค้าขายนั้นไม่เป็นที่อนุญาต
การกระทำบางอย่างก็เช่นเดียวกัน ถือเป็นสิ่งที่ทำให้การค้าขายเป็นโมฆะ และเสียหาย ตัวอย่างเช่น การหลอกหลวง การขายสินค้าที่มีตำหนิ รายได้ที่เกิดขึ้นมาจากการค้าขายในลักษณะนี้ถือเป็นสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม)
ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า “บุคคลใดก็ตาม ที่แสวงหาทรัพย์สินเงินทองจากหนทางที่ต้องห้าม (ฮะรอม) อัลลอฮ์จะทรงทำให้เขายากจน”54
2. ภารกิจการงานของสตรีนั้นอยู่ในบ้าน
โดยทั่วไปแล้ว ส่วนใหญ่ของภารกิจการงานต่างๆของสตรีนั้นอยู่ในบ้าน ในทัศนะของอิสลามการดูแลกิจการภายในบ้านของสตรี มีความสำคัญเป็นอย่างมาก
มีปรากฏในวิถีแห่งการดำเนินชีวิตของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ดังนี้ว่า วันหนึ่งท่านได้ถามบรรดาสาวกของท่านว่า “ในช่วงเวลาใด ที่สตรีอยู่ใกล้ชิดรพะผู้เป็นเจ้ามากที่สุด”
ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ) ตอบว่า “ช่วงเวลาที่สตรีได้อยู่ในบ้านของนาง และปฏิบัติภารกิจต่างๆในการดำเนินชีวิตและอบรมขัดเกลาลูกๆ”55
ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ยังได้กล่าวอีกเช่นกันว่า “การทำงานในบ้านของคนหนึ่งคนใดจากพวกเธอนั้น จะได้รับภาคผลเท่ากับการต่อสู้ (ญิฮาด) ของบรรดาผู้ต่อสู้ (มุญาฮิดีน) ทั้งหลาย หากเป็นพระสงค์ของพระองค์”56
และท่านอิมามอะลี (อ) ถือว่าการทำงานของสตรีภายในบ้านคือ การญิฮาด (ต่อสู้) ของนางดดยท่านได้กล่าวว่า “การต่อสู้ (ญิฮาด) ของสตรีคือ การทำหน้าที่ภรรยาที่ดีต่อสามีของนาง”57
ท่านอิมามบากิร (อ) ได้กล่าวถึงวิถีการดำเนินชีวิตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ) และท่านอิมามอะลี (อ) ไว้เช่นนี้ “ท่านอิมามอะลี (อ) และท่านหญิง ฟาฏิมะฮื (อ) ได้ไปพบท่านศาสดา (ศ็อลฯ) เพื่อให้ท่านช่วยแบ่งหน้าที่การงานต่างๆที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กำหนดภารกิจการงานต่างๆ นอกบ้านให้เป็นหน้าที่ของท่านอิมามอะลี (อ) และภารกิจการงานต่างๆภายในบ้านให้อยู่ในความรับผิดชอบของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ)”58
ในวิถีชีวิตของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ) เราจะพบได้เช่นกันว่า เนื่องจากความเหนื่อยากจากการทำงานบ้าน เช่น การโม่แป้ง ตามที่สามีของนางคือ ท่านอิมามอะลี (อ) ได้กำชับให้ทำ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ) จึงได้ไปพบท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) เพื่อให้ท่านจัดหาคนรับใช้ให้
ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า “ฉันไม่ต้องการให้ผลรางวัลของภารกิจต่างๆที่เจ้ากระทำภายในบ้านถูกเอาไปจากเจ้า”59
จากวจนะของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ข้างต้นทำให้เรารับรู้ได้ว่า สตรีจะได้รับผลตอบแทนในหน้าที่การงานต่างๆ ที่นางปฏิบัติในบ้าน และผลรางวัลนั้นนางจะได้รับจากพระผู้เป็นเจ้า
ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า “ฉันไม่ต้องการให้ผลรางวัลของภารกิจต่างๆ ที่เจ้ากระทำภายในบ้านถูกเอาไปจากเจ้า”59
จากวจนะของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ข้างต้นทำให้เรารับรู้ได้ว่า สตรีจะได้รับผลตอบแทนในหน้าที่การงาน่าๆที่นางปฏิบัติในบ้าน และผลรางวัลนั้นนางจะได้รับจากพระผู้เป็นเจ้า
ในท้ายที่สุดของเนื้อหาส่วนนี้ ขอกล่าวย้ำในบางประเด็นว่า
แม้ว่างานบ้านต่างๆจะถูกมอบให้แกสตรี แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า ภารกิจการงานภายในบ้านทั้งหมดสตรีจะต้องรับผิดชอบ โดยผู้เป็นสามีไม่ต้องเอาใจใส่ใดๆในงานบ้านเหล่านั้น
ในแบบฉบับของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และจากคำรายงานของบรรดาอิมาม (อ) ได้สั่งเสียแก่สามีในเรื่องของการทำงานบ้านและการช่วยเหลือภรรยาของตน ตัวอย่างเช่น มีรายงานว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) งานส่วนใหญ่มักจะทำในบ้านก็คือ การเย็บเสื้อผ้า ท่านจะซักเสื้อผ้าด้วยตัวของท่านเอง ท่านจะรีดนมแพะและทำงานต่างๆของท่านด้วยตัวของท่านเอง60
แม้ว่าภาระหน้าที่หลักของสตรีจะอยู่ภายในบ้านก็ตาม แต่บางครั้งเนื่องจากด้วยเหตุผลบางประการ จำเป็นที่นางจะต้องเข้าร่วมอยู่ในสังคมและรับผิดชอบหน้าที่การงานทางสังคม การเข้าร่วมของสตรีทางสังคม และการดำเนินกิจกรรมต่างๆทางสังคม โดยการรักษากฎเกณฑ์ต่างๆแบบอิสลาม ย่อมไม่มีข้อขัดแย้งใดๆ ต่อข้อบัญญัติของศาสนาอิสลาม
4. ประเด็นของการเลือกอาชีพ
ในทัศนะของอิสลาม แม้ว่าการประกอบอาชีพจะเป็นสิ่งจำเป็นก็ตามแต่ทว่าคุณค่าของอาชีพแต่ละประเภทนั้นไม่เท่าเทียมกัน ในทัศนะของอิสลามการประกอบอาชีพบางอย่าง แม้จะไม่เป็นที่ต้องห้าม (ฮะรอม) แต่ก็ถือเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ (มักรูฮ์) หากเป็นไปได้และย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าที่เขาจะหลีกเลี่ยงจากการงานเหล่านั้น
ในรายงานบทหนึ่ง ได้กล่าวไว้เช่นนี้ว่า อิสหาก บินอัมมาร เล่าว่า ฉันได้ถามท่านอิมามซอดิก (อ) ว่า “ข้าพเจ้ามีบุตรชายคนหนึ่ง ซึ่งข้าพเจ้าปรารถนาที่จะให้เขาประกอบอาชีพ ในทัศนะของท่าน อาชีการงานประเภทใดที่ดีกว่า”
ท่านอิมามซอดิก (อ) ตอบว่า “จงอย่าให้เขาประกอบอาชีพในห้าประเภท หนึ่ง จากอาชีพเหล่านั้นคือ อย่าให้ลูกของท่านทำอาชีพแลกเปลี่ยนเงินตรา เพราะผู้แลกเปลี่ยนเงินตรานั้นไม่ปลอดภัยจากการกินดอกเบี้ย”61

วันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

คุณลักษณะของมุสลิมในการประกอบอาชีพ

ด้วยพระนามของพระองค์ผู้ทรงเมตตากรุณา

อาชีพ ซึ่งถือเป็นสื่อสนองตอบความต้องการในการดำเนินชีวิต ได้จำกัดเวลาส่วนหนึ่งของมนุษย์เราไว้ อิสลามศาสนาที่สมบูรณ์มีเนื้อหาครอบคลุมทุกด้านในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำงานและการประกอบอาชีพต่างๆ ทางด้านเศรษฐกิจของมนุษย์ ในที่นี้จะมากล่าวถึงเกี่ยวกับแง่มุมต่างๆ ที่อิสลามได้มุ่งเน้นในเรื่องของการประกอบอาชีพ
1. ความสำคัญและคุณค่าของการประกอบอาชีพในทัศนะอิสลาม
การประกอบอาชีพ เพื่อสนองตอบความต้องการในการดำเนินชีวิตของครอบครัว ในทรรศนะอิสลามถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก และอิสลามได้ตอกย้ำประเด็นนี้ เรียกร้องเชิญชวนให้มนุษยชาติขวนขวายแสวงหาปัจจัยยังชีพจากการประกอบอาชีพ ท่านอิมามซอดิก (อ) ได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า “โอ้ฮิชามเอ๋ย หากเจ้าได้พบว่ากองทัพสองฝ่ายกำลังเผชิญหน้ากัน ดังนั้นเจ้าจงอย่างละทิ้งการแสวงหาปัจจัยยังชีพในวันนั้น”1 เช่นเดียวกัน ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า “การแสวงหาปัจจัยยังชีพที่อนุมัติ (ฮะลาล) เป็นหน้าที่จำเป็น (วาญิบ) เหนือชายและหญิงทุกคน”2
เพื่อเป็นการส่งเสริมมนุษยชาติในการประกอบอาชีพ อัลลอฮ์ผู้ทรงสูงส่ง ได้ทรงสัญญาที่จะอภัยโทษให้แก่บุคคลที่ใช้ความอุตสาหพยายาม ในการแสวงหาปัจจัยยังชีพมาใช้ในการดำเนินชีวิตครอบครัว
โดยที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า “ผู้ใดก็ตามที่นอนหลับลงในยามค่ำคืน ในสภาพที่อ่อนเพลียจากการแสวงหาปัจจัยยังชีพที่อนุมัติ (ฮะลาล) เขานอนหลับลงในสภาพที่ได้รับการอภัยโทษ”3
ญิฮาด (การต่อสู้ในหนทางของพระผู้เป็นเจ้า) เป็นสิ่งที่มีความประเสริฐอย่างยิ่ง ในรายงานจำนวนมากจะพบว่า บุคคลที่อุตสาหพยายามแสวหาปัจจัยในการดำเนินชีวิตครอบครัว จะได้รับผลรางวัลเหมือนกับผู้ที่ต่อสู้ในหนาทางของพระผู้เป็นเจ้า
ดังที่ท่านอิมามริฎอ (อ) ได้กล่าวว่า “ผู้ซึ่งแสวงหาสิ่งที่จะสนองตอบความต้องการแก่ครอบครัวของตน จากความโปรดปรานของอัลลอฮ์ ยอ่มได้รับผลรางวัลที่ยิ่งใหญ่กว่าผู้ที่ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์”4
มีรายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ) เช่นกัน ซึ่งท่านกล่าวว่า “เมื่อชายผู้ขัดสนยากจนได้ทำงาน จนทำให้เกิดความพอเพียงต่อการเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวของเขา โดยที่เขามิได้แสวงหาสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) ใดๆ ดังนั้นเขาเพรียบได้ดังผู้ต่อสู้ (มุญาฮิด) ในหนทางของอัลลอฮ์”5
การขวนขวายแสวงหาปัจจัยยังชีพที่อนุมัติ (ฮะลาล) ได้รับความสำคัญเป็นพิเศษ ในการดำเนินชีวิตของบรรดามะอ์ซูม (ผู้บริสุทธิ์) โดยที่เราจะได้พบเห็นแบบอย่างของการขวนขวายอุตสาหพยายาม เพื่อสนองตอบในเรื่องการดำเนินชีวิตดังกล่าวนี้อยู่ในการดำเนินชีวิตของท่านทั้งหลายดังกล่าว
ท่านอิมามมูซา กาซิม (อ) ได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า “ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ท่านผู้นำแห่งศรัทธาชน อะลี (อ) และบรรพบุรุษของฉันทั้งหมดได้ทำงานด้วยมือของพวกท่านเอง ซึ่งนั่นคือ ส่วนหนึ่งจากการกระทำ (อะมั้ล) ของบรรดาศาสนทูตและบรรดาผู้ทรงคุณธรรม”6
ผู้รายงานกล่าวว่า ฉันได้เห็นท่านอิมามซอดิก (อ) ในสภาพที่ท่านกำลังถือพลั่ว สวมใส่เสื้อผ้าที่หยาบกระด้าง กำลังหมกมุ่นอยู่กับงานในไร่ ในสภาพที่เหงื่อไหลไคลย้อยจากใบหน้าและเรือนร่างของท่าน ฉันจึงกล่าวกับท่านว่า “ชีวิตของข้าพเจ้าขอพลีเพื่อท่าน โปรดส่งพลั่วให้ข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าจะทำงานให้ท่านเอง” ท่านอิมามได้กล่าวว่า “ฉันรักในการที่บุรุษจะได้รับความยากลำบาก ด้วยกับความร้อนของแสงแดดในการแสวงหาปัจจัยยังชีพ”7
ในรายงานบทหนึ่งจากท่านอิบนิ อับบาส ได้กล่าวถึงอาชีพต่างๆของบรรดาศาสดา ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการประกอบอาชีพ ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากในการดำเนินชีวิตของท่าน ในคำรายงานบทนี้ได้บอกให้รู้ว่า
อาชีพของท่านศาสดาอาดัม (อ) คือ การเพาะปลูก
อาชีพของท่าานศาสดาอิดรีส (อ) คือ ช่างเย็บเสื้อผ้า
อาชีพของท่านศาสดาฮูด (อ) คือ อาชีพพ่อค้า
และอาชีพของท่านศาสดาสุไลมาน (อ) คือ การสานเสื่อ เป็นต้น
2. คุณค่าต่างๆของการประกอบอาชีพ
ประเด็นที่สอง ในหัวข้อเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ก็คือ การประกอบอาชีพนอกจากจะเป็นการตอบสนองคามต้องการในการดำเนินชีวิตของมนุษย์แล้ว ยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกเช่นกัน ซึ่งเราจะชี้ให้เห็นจากส่วนหนึ่งจากบรรดาคุณประโยชน์ดังกล่าวโดยอาศัยรายงานต่างๆ
2.1 ความสงบมั่นทางด้านจิตใจ
การประกอบอาชีพคือ สื่อที่ทำให้จิตใจสงบมั่น และโดยตัวของมันเองแล้วยังเป็นการพักผ่อนประการหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้นภายใต้การทำงาน และด้วยกับการตอบสนองคามต้องการต่างๆ ทางด้านวัตถุ และการได้หลักประกันในการดำเนินชีวิตของมนุษย์แล้ว ยังทำให้ความสับสนและความทุกข์กังวลใจต่างๆจำนวนมากได้หมดไปจากเขา
ท่านอิมามอะลี (อ) ได้อ้างจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ซึ่งกล่าวว่า “มนุษย์นั้น หากมีความมั่นใจในการสนองตอบความต้องการของตนเองได้แล้วเขาก็จะสงบมั่น”8
ท่าานอิมามซอดิก (อ) ได้กล่าวไว้เช่นกันว่า “ผู้ใดก็ตาม ที่ไม่อับอายย่อท้อจากการแสวงหาปัจจัยยังชีพ ความทุกข์ยากของเขาก็จะน้อยลง ความคิดของเขาก็จะสงบมั่น และครอบครัวเของเขาก็จะมีชีวิตอยู่อย่างผาสุก”9
2.2 การอภัยโทษจากพระผู้เป็นเจ้า
ภายไต้การแสวหาปัจจัยยังชีพสำหรับครอบครัวนั้น พระผู้เป็นเจ้าจะทรงจัดเตรียมสื่อแห่งการอภัยโทษ และคามสะอาดบริสุทธิ์จากความชั่วไว้สำหรับมนุษย์
ท่านอิมามซอดิก (อ) ได้อ้างจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ท่านกล่าวว่า “บุคคลใดก็ตาม ท่นอนหลับในยามค่ำคืนด้วยความเมื่อยล้า อันเกิดจากการแสวงหาปัจจัยยังชพท่อนุมัติ (ฮะลาล) เขานอนหลับในสภาพท่ได้รับการอภัยโทษ”10
2.3 ความรักจากพระผู้เป็นเจ้า และความพอเพียงจากบุคคลอื่น
การประกอบอาชพคือ สื่อนำมาซึ่งความรักจากพระเจ้า การอุตสาหพยายามเพื่อสนองตอบความต้องการในการดำเนินชีวิตของครอบครัว และการแสวงหาปัจจัยยังชพท่เป็นสิ่งอนุมัติ (ฮะลาล) จะเป็นสาเหตุทำให้พระผู้เป็นเจ้าทรงรักและถึงพอพระทัยในตัวมนุษย์ และยังทำให้ความต้องการในการพึ่งพิงผู้อื่นของเขาหมดไป
ท่านอิมามอะลี (อ) ได้กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย จงมุ่งมั่นสู่การค้าขายเถิด เพราะในการค้าขายนั้นจะทำให้พวกท่านพอเพยงจากสิ่งท่อยู่ใในมือของเพื่อนมนุษย์ และแท้จริงอัลลอฮ์ผู้ทรงเกริกเกียรติ ผู้ทรงเกรียงไกร ทรงรักผู้ประกอบอาชีพผู้มีความสุจริต”11
2.4 การรักษาไว้ซึ่งศาสนา
ช่างมากมายเหลือเกิน บรรดาผู้ที่ได้สูญเสียความศรัทธามั่น (อีมาน) ของตนไป อันเนื่อมาจากความยากจนและความขัดสน ความอุตสาหพยายามเพื่อแสวงหาปัจจัยยังชีพ คือ สื่อทำลายความยากจน และผลพวงอันเป็นธรรมชาติของมันก็คือ การพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งศาสนาและความศรัทธาของตนเอง
ท่านอิมามซอดิก (อ) ได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า “จงอย่าละทิ้งการแสวงหาปัจจัยชัพจากสิ่งอนุมัติ (ฮะลาล) เพราะแท้จริงมันจะช่วยเหลือท่านในการดำรงไว้ซึ่งศาสนาของท่าน”12
2.5 ความรอดพ้นจากไฟนรก
ความรอดพ้นจากไฟนรก คือประโยชน์อีกประการหนึ่งของการประกอบอาชีพ ซึ่งได้ถูกอ้างถึงในคำรายงาน (ริวายะฮ์) บางส่วน
ท่านศาสดามุฮัมมั (ศ็อลฯ) ได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า “ผู้ใดท่ทำเนินชีวิตด้วยความบากบั่น ด้วยน้ำมือของเขาเอง เขาจะข้ามผ่านสะพาน (ซิรอต้อมุสตะกีม) ด้วยความรวดเร็วดั่งสายฟ้าแลบ”13
ในรายงานอีกบทหนึ่งได้ปรากฎเช่นนี้ว่า ท่านอะนัส บินมาลิก กล่าวว่า ภายหลัจากที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กลับจากสงครามตะบูก ซะอัด อันซอรี ได้รีบออกมาต้อนรับท่าน และเขาได้สัมผัสมือกับท่าน ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ได้กล่าวกับเขาว่า
“อะไรได้เกิดขึ้นกับมือของท่านหรือ จนทำให้เกิดความหยาบกร้านเช่นนี้” ซอัดได้กล่าวว่า “โอ้ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ข้าพเจ้าได้ทำงานและแสวงหารายได้เพื่อการดำรงชีวิตของตนเองและครอบครัว โดยใช้เชือกและพลั่ว ด้วยเหตุดังกล่าวนี้เองมือของข้าพเจ้าจึงหยาบกร้าน”
ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้จูบมือของซะอัดพร้อมกับกล่าวว่า “น่แหละคือ มือซึ่งไฟนรกจะไม่สัมผัสกับมัน”14
2.6 ความสามารถในการให้ความช่วยเหลือบรรดาผู้ยากไร้
คุณประโยชน์อีกประการหนึ่งของการประกอบอาชีพก็คือ มนุษย์สามารถท่จะสร้างสรรค์และพัฒนาสังคมให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองได้ ด้วยผลแห่งความเหนื่อยยากของตนเอง และผลที่ได้รับจากความเหนื่อยยากของตนนี้สามารถนำไปช่วยเหลือเกื้อกูลเด็กกำพร้าและผู้ยากไร้ขัดสน
ท่านอิมามซอดิก (อ) กล่าวว่า “ท่านอิมามอะลี (อ) ใช้พลั่วชุบชีวิตแผ่นดิน และผลที่ได้รับจากความเหนื่อยยากของท่าน ท่านได้ปลอปล่อยทาสจำนวนนับพันคน”15
มนุษย์ที่ไม่ประกอบอาชีพ็จะไม่มีปัจจัย ไม่มีโอกาสท่จะมีส่วนร่วมในการเช่วยเหลือเกื้อกูลต่างๆ ทางด้านสังคม นอกเหนือจากที่กล่าวไปแล้ว การประกอบอาชีพ ยังมีคุณประโยชน์อื่นๆอีก ซึ่งมีปรากฎในรายงานบางส่วน และที่สำคัญที่สุดของบรรดาคุณประโยชน์ของการประกอบอาชีพที่มีต่อสังคมได้แก่การสกัดกั้น การขอทาน การลักขโมย การหย่าร้างและความเสื่อมทรามต่างๆทางสังคม
3.ผลร้ายของการว่างงาน
อีกประการหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต้องชี้ให้เห็นเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ นั่นคือประเด็นที่เกี่ยวกับผลพวงที่เลงร้ายต่างๆของการว่างงาน ในส่วนนี้เราจะอธบายถึงแง่มุมหนึ่งของมันโดยพิจารณาจากรายงานต่างๆ
3.1 เป็นที่เกลียดชังของอัลลอฮ์ (ซ.บ)
ดังที่ทราบว่า การประกอบอาชีพนั้น เป็นที่รักยิ่ง ณ อัลลอฮ์ (ซ.บ) ดังนั้น ในทางกลับกันการไม่ทำงานก็คือ สาเหตุแห่งความโกรธกริ้วของพระองค์ ท่านอิมาม บากิร (อ) ได้กล่าวว่า “ท่านศาสดามูซา บุตรของอิมรอน ได้ทูลถามต่อพระผู้เป็เจ้าในนการภาวนาขอพรของท่านว่า บ่าวคนใดเป็นที่เกลียดชังยิ่ง ณ พระองค์ พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสตอบว่า บุคคลซึ่งในยามค่ำคืนเขา (นอนหลับใหล) เหมือนคนตาย และในยามกลางวันเขาไม่ทำงาน”16
3.2 เป็นที่เกลียดชัง ณ ท่านศาสดาและบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์
การประกอบอาชีพ นำมาซึ่งความรักจากท่าานศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) และบรรดาอิมาม (อ) และผู้ที่ประกอบอาชีพนั้น เป็นที่ยกย่องเทิดทูนในทัศนะของพวกท่านเหล่านั้น ในทางตรงกันข้าม การง่างงานและผู้ที่ไม่ยอมทำงานประกอบอาชีพ ย่อมเป็นผู้ที่ถูกตำหนิและชิงชัง ณ พวกท่านเหล่านั้น
วิถีการดำเนินชีวิตของท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ก็คือ ทุกครั้งที่ท่านมองเห็นบุคคลใด ท่านจะถามว่า “ชายผู้นี้มีอาชีพการงานหรือไม่” ถ้าหากพวกเขาตอบว่า “เขาไม่มีอาชีพการงานใดๆ” ท่านจะกล่าวว่า “เขาไม่อยู่ในสายตาของฉัน” จะมีผู้กล่าวต่อท่านว่า “เหตุผลอันใดที่ทำให้เขาไม่อยู่ในสายตาของท่าน” ท่านจะกล่าวว่า “เพราะเหตุว่าผู้ศรัทธา (มุอ์มิน) คนหนึ่ง เมื่อเขาไม่มีอาชีพการงาน เขาก็จะดำเนินชีวิตอยู่ด้วยกับการขายศาสนาของเขา”17
ท่านอิมามบากิร (อ) ได้กล่าวว่า “แท้จริงแล้ว ฉันรังเกียจบุรุษที่เกียจคร้านจากการงานแห่งโลกนี้ (ดุนยา) ของเขา และผู้ใดก็ตามที่เกียจคร้านจากการงานแห่งโลกนี้ของเขา ดังนั้นเขาย่อมเป็นผู้เกียจคร้านยิ่งกว่าจากกิจการงานแห่งปรโลกของตน”18
3.3 การขอพร (ดุอาอ์) ของผู้ที่ไม่ทำงานจะไม่ถูกตอบรับ
ผลพวงอันเลวร้ายอีกประการหนึ่งของการไม่ทำงาน คือการขอพร (ดุอาอ์)ของคนที่ไม่ประกอบอาชีพการงานนั้นจะไม่ถูกตอบรับ ท่านอิมามซอดิก (อ) ได้รายงานจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ซึ่งท่านกล่าวว่า “บุคคลหลายจำพวกที่การขอพรของเขาจะไม่ถูกตอบรับ ซึ่งได้แก่บุรุษผู้ซึ่งนั่งอยู่ในบ้านของตน โดยกล่าว (วิงวอน) ว่า “โอ้พระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ ได้โปรดประทานปัจจัยยังชีพให้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด” อัลลอฮ์ (ซ.บ) จะทรงกล่าวกับบุคคลเช่นนั้นว่า “ข้ามิได้บัญชาให้เจ้าทำการแสวงหาดอกหรือ...”19
3.4 ความแปดเปื้อนต่อสิ่งชั่วร้าย
การไม่ประกอบอาชีพการงาน คือสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่ความเสื่อทรามทางด้านสังคม และบุคคลที่ไม่ประกอบอาชีพการงานนั้นมีโอกาสที่จะนำตัวเองเข้าสู่ความเสื่อมทรามทางสังคมได้ต่างๆนานา ตัวอย่างเช่น การติดยาเสพติด การลักขโมยและอื่นๆ
ท่านผู้นำแห่งศรัทธาชน อะลี(อ) ได้กล่าวว่า “แม้ว่าอาชีพการงานจะนำมาซึ่งความเหนื่อยยาก แต่การง่างงานก็คือ สิ่งที่จะนำมาซึ่งความเสื่อมทรามต่างๆ”20
4. ช่วงเวลาของการทำงาน
อีกประเด็นหนึ่งที่จำเป็นต้องกล่าวถึงในที่นี้ก็คือ เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องของเวลาและชั่วโมงการทำงาน ในคำรายงานต่างๆ ได้แนะนำบางช่วงเวลาว่าเป็นที่เหมาะสมกว่าสำหรับการทำงาน ตัวอย่างเช่น
4.1 ช่วงเวลาเช้าตรู่
ช่วงเวลาเช้าซึ่งมนุษย์เราได้ใช้เวลาหลายชั่วโมงในการพักผ่อน การนอนหลับในยามค่ำคืนได้ทำให้ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าต่างๆที่เกิดจากการทำงานในช่วงกลางวันที่ผ่านมาหมดไปจากเขา ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่เขาจะเริ่มต้นภารกิจและความพยายามครั้งใหม่ของเขา
ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย จงแสวงหาปัจจัยยังชีพและความต้องการทั้งหลายตั้งแต่เช้าตรู่ เพราะช่วงเวลาเช้าตรู่นั้นมีความจำเริญ (บะรอกัต) และเป็นสื่อนำสู่ความสำเร็จ”21
ท่านอิมามอะลี (อ) ได้กล่าวในเรื่องนี้ไว้เช่นกันว่า “การแสวงหาปัจจัยยังชีพตั้งแต่เช้าตรู่ จะช่วยเพิ่มพูนปัจจัยยังชีพ (ริษกี)”22
เช่นเดียวกันนี้ ท่านอิมามซอดิก (อ) กล่าวว่า “ท่านทั้งหลายจงแสวงหาปัจจัยยังชีพตั้งแต่เช้าตรู่ และจงมุ่งแสงหาสิ่งอนุมัติ เพราะแท้จริงอัลลอฮ์จะทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกท่าน และจะทรงช่วยเหลือพวกท่านบนสิ่งนั้น”23
4.2 ถิ่นฐานบ้านเกิดเมืองนอน
ตามรายงานต่างๆ ส่วนหนึ่งจากบรรดาสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการประกอบอาชีพ และการทำงาน นั่นคือบ้านเกิดและถิ่นฐานที่ใช้ชีวิตอยู่ มนุษย์เรานั้นมีจิตใจผูกพันอันเป็นเฉพาะต่อบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง และมีความรู้สึกที่สงบมั่นในสถานที่แห่งนั้น ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เอง เขาสามารถที่จะปฏิบัติงานและดำเนินภารกิจของตนเองได้ด้วยสภาพจิตที่ดีกว่า
ท่านอิมามซัจญาด (อ) ได้กล่าวว่า “แท้จริงส่วนหนึ่งจากความไพบูลย์ของคนเรา คือการที่สถานที่ประกอบอาชีพของเขาอยู่ในบ้านเกิดของเขา”24
และท่านอิมามซอดิก (อ) กล่าวว่า “สามประการถือเป็นส่วนหนึ่งจากความไพบูลย์และความโชคดี (ของคนเรา) นั่นคือ ภรรยาที่เชื่อฟังปฏิบัติตามสามีบรรดาลูกๆที่มีคุณธรรม (ทำดีต่อเขาทั้งในยามที่เขามีชีวิตอยู่และตายลง) และชายผู้ซึ่งได้รับปัจจัยยังชีพของเขา (จากอัลลอฮ์) ในแผ่นดินของตนเอง โดยที่เขาจะได้กลับมาอยู่กับครอบครัวของเขานับตั้งแต่ยามเย็นจนถึงเช้าตรู่”25
อย่างไรก็ตามเป็นที่ชัดเจนว่า หากคนเราจำเป็นต้องกจากบ้านเกิดเมืองนอนไปเพื่อแสวงหาปัจจัยยังชีพให้แก่ครอบครัวของตนเแล้ว ไม่ต้องสงสัยเลยว่า เขาได้ปฏิบัติสิ่งที่ดีงามและน่าสรรเสริญยิ่งแล้ว
4.3 ทุกๆวันของสัปดาห์ยกเว้นวันศุกร์
ในคำรายงานต่างๆได้ห้ามการทำงานและการะประกอบอาชีพในวันศุกร์ โดยเฉพาะอย่างอย่างในช่วงเวลาของการนมาญุมุอะฮ์ และได้เน้นย้ำว่าในวันนี้มนุษย์เราควรจะต้องพักผ่อนและเพิ่มพละกำลังให้กับตัวเองด้วยการผูกสัมพันธ์กับเครือญาติ
ในคัมภีร์อัล กุรอานได้กล่าวว่า
“โอ้มวลผู้ศรัทธาทั้งหลาย เมื่อผู้ประกาศเรียกร้องสู่การนมาซในวันศุกร์ ดังนั้นพวกเจ้าก็จงรีบเร่งสู่การรำลึกถึงพระองค์เถิด และพวกเจ้าจงละทิ้งการค้าไว้ก่อน สิ่งนั้นย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าสำหรับพวกเจ้า หากพวกเจ้ารู้” (บทอัล ญุมุอะฮ์ โองการที่9)
ท่านอิมามซอดิก (อ) กล่าวไว้เช่นกันว่า “ผู้ใดก็ตามได้จ้างลูกจ้างคนหนึ่งทำงาน หลังจากนั้นได้กกักขังลูกจ้างไว้จากการนมาวันศุกร์ เขาจะได้รับโทษทัณฑ์ และหากเขามิได้กักขังลูกจ้างไว้ (จากการเข้าร่วมในการนมาซวันศุกร์) บุคคลทั้งสอง (ลูกจ้างและนายจ้าง) จะมีส่วนร่วมในภาคผล (ของการนมาซนั้น”26
เช่นเดียวกันนี้ ตามคำรายงานบางบทเป็นสิ่งสมควรอย่างยิ่งที่มุสลิมจะทำตัวให้ว่างเปล่าจากการประกอบอาชีพและการทำงานในวันศุกร์ เพื่อแสวงหาความรู้และความเข้าใจในเรื่องของศาสนา
ท่านอิมามซอดิก (อ) ได้รายงานววจนะ (ฮะดีษ) บทหนึ่งจากท่านศาสดา มุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ซึ่งกล่าวว่า “ช่างน่าอนาถใจเสียเหลือเกินสำหรับมุสลิมทุกคนที่เขามิได้ทำให้ทุกๆวันศุกร์ เป็นวันที่พวกเขาจะแสวงหาความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนา และสอบถามในเรื่องราวของศาสนา”27
ในส่วนท้ายของเนื้อหาเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ของการทำงาน จำเป็นต้องกล่าวว่า ในยามค่ำคืนนั้นเป็นเวลาสำหรับการพักผ่อน แต่ในบางกรณีการทำงานในช่วงเวลากลางคืน อาจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์เรา เนื่องจากเหตุผลต่างๆ ซึ่งกรณีเช่นนี้ก็มิได้ขัดแย้งใดๆ ต่อหลักคำสอนของอิสลาม
ท่านอิมามซอดิก (อ) กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “บางครั้ง คนเราจำเป็นต้องประกอบอาชีพและทำงานในเวลากลางคืน ด้วยเหตุที่พวกเขาไม่สามารถทำงานทั้งหมดของตนเองให้เสร็จสิ้นในเวลากลางวันได้ หรืออาจด้วยเหตุผลที่ว่าความร้อนระอุของกลางวัน ทำให้พวกเขาไม่สามารถทำงานในช่วงกลางวันได้ ด้วยเหตุนี้ภาจใต้แสงสว่างของแสงจันทร์ยามค่ำคืน ทำให้พวกเขาสามารถทำงานต่างๆได้ พระผู้เป็นเจ้าได้บันดาลแสงสว่างของดวงจันทร์ไว้ด้วยเหตุผลดังกล่าว”28

ต่อฉบับหน้าค่ะ...