วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ฐานะของสตรีในโลกทัศน์อิสลาม(2)

ด้วยพระนามผู้ทรงยิ่งใหญ่

สิ่งที่ปรากฏใน อัลกุรอาน นั้นมีหลายอย่างที่ไม่สามารถจะหาได้พบในคัมภีร์อื่นๆ และสิ่งที่มีอยู่ในอัลกุรอานในคัมภีร์อื่นๆนั้นไม่มี เช่น ในเรื่องที่เรากำลังจะกล่าวให้กับบรรดาสตรีทั้งหลาย นั่นคือ เรื่องของสตรี สิทธิของสตรี ที่อัลกุรอานได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน เรื่องราวของคุณค่าของบรรดาสตรี การให้เกียรติ และการยกย่อง บรรดาสตรีผู้มีความศรัทธา ซึ่งในคัมภีร์อื่นๆ มิได้มีเช่นนี้.
ทัศนะที่เหยียบย่ำสตรีที่ได้ปรากฏมาแล้วในอดีต และยังคงหลงเหลือผลอันไม่น่าชื่นชมยินดี เช่นทรรศนะที่ว่า สตรีเป็นบ่อเกิดของความบาป, การดำรงชีวิตอยู่ของสตรีเพศนั้น คือ บ่อเกิดของความบาป, บุคคลเหล่านั้นกล่าวว่า ความชั่ว ความบาปนั้นผู้หญิงมีส่วนทั้งสิ้น. บุคคลเหล่านั้นมีความเชื่อว่า เพราะการที่ซาตานจะเข้าหาบุรุษเพื่อที่จะหลอกล่อให้กระทำความผิดบาปนั้น ต้องผ่านไปสู่ทางสตรีเท่าน้นที่ซาตานจะสามารถหลอกลวงผู้ชายได้. ทรรศนะของพวกเขานั้น ได้กล่าวว่า อาดัม ซึ่งเป้นมนุษย์คนแรกนั้นก็ถูกหลอกลวงโดยซาตาน จึงต้องออกไปอยู่นอกสวนสวรรค์แห่งความสุข และซาตานที่ยั่วเย้า อาดัม ได้นั้นก็โดยการหลกลวงผ่านทางผู้หญิง นั่นคือ อิวา.
แต่ในทรรศนะของ อัลกุรอาน ได้อรรถาธิบายถึงเรื่องการยั่วเย้าของซาตานนั้น อัลกุรอานได้ใช้สรรพนามในรูปแบบของทวิพจน์(คือ อ้างถึงทั้งสองบุคคล) โดยกล่าวว่า


فَوَسوَسَ لَهُماالشَّيطانُ "ซาตานได้ยั่วเย้าทั้งสองของเขานั้น" (7:20)
และในอีกทรรศนะหนึ่งที่กล่าวถึงสตรีเพศว่า "สตรีนั้นไม่สามารถจะไปสวรรค์ได้ สตรีไม่สามารถที่จะผ่านขั้นตอนทางด้านจิตวิญญาณและขั้นตอนอันเป็นทิพย์ของการรู้แจ้งเห็นจริงได้ สตรีนั้น ไม่สามารถที่จะได้รับหรือบรรลุถึงการเป็นตัวแทนของพระผู้เป็เจ้าได้เหมือนอย่างที่บุรุษได้เป็น" ซึ่งในทางตรงกันข้าม อัลกุรอานได้ทำให้ประเด็นนี้เป็นที่ชัดแจ้ง ซึ่งปรากฏในโองการต่างๆ จำนวนมากที่เกี่ยวกับการตอบแทนรางวังในชีวิตหลังจากความตาย และความใกล้ชิดต่อพระผู้เป็นเจ้านั้นมิได้ขึ้นอยู่กับเรื่องเพศหญิง หรือเพศชาย แต่ขึ้นอยู่กับความศรัทธาและการปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม.



ในกุรอาน ได้กล่าวถึง ท่านหญิงมัรยัม มารดาของ นบีอีซา ว่า นางได้บรรลุถึงระดับทางจิตวิญญาณอันสูงส่ง จนทำให้บรรดา มะลาอิกะฮ์ ได้มาเยือนนางในที่ๆ นางนมาซ และสนทนากับนาง ส่วนอาหาร และปัจจัยยังชีพนั้น นางก็ได้รับจากสภาพพ้นญาณวิสัย.
ทรรศนะอื่นๆที่เกี่ยวกับสตรีเพศ โดยไปทางที่ไม่น่าชื่นชม หรือบ่งบอกถึงการเหยียดหยามสตรีเพศ อิสลามได้อธิบายถึงเหตุผล หลักการ และที่สำคัญในทรรศนะของอิสลามนั้น มนุษย์ทุกคนคือ ผู้ที่มีความประเสริฐ และมีความใกล้ชิดยังพระผู้เป็นเจ้า เสมอเหมือนกันทุกๆคน หากพวกเขานั้นผ่านการทดสอบ และได้มาซึ่งความศรัทธาอันแท้จริง ที่เป็นเงื่อนไขของพระองค์.
(ต่อฉบับหน้า)

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ฐานะของสตรีในโลกทัศน์อิสลาม






ฐานะของสตรีในโลกทัศน์อิสลาม

ก่อนอื่น คัมภีร์ อัลกุรอาน นั้นมิใช่เป็นเพียงการรวบรวมประมาลกฎหมายไว้เท่านั้น คัมภีร์ อัลกุรอาน มิใช่บรรจุไว้แต่เพียงบทบัญญัติแห่งคำสั่งที่แห้งแล้ง และประมวลกฎหมายที่ปราศจากการวิพากษ์ ก็หามิได้ อัลกุรอาน บรรจุไว้ทั้งประมวลกฎหมายและประวัติศาสตร์,คัมภีร์ อัลกุรอาน มีทั้งคำเร่งเร้า คำขอร้อง คำตักเตือนและการตีความการสร้างสรรค์ในทุกสรรพสิ่ง และยังมีเรื่องอื่นไ อีกนับไม่ถ้วน เพียงแต่คัมภร์ อัลกุรอาน ได้วางระเบียบกฎเกณฑ์ของการปฏิบัติในรูปแบบของตัวบทกฎหมายในบางโอกาส เช่นนั้นแหละที่คัมภีร์ อัลกุรอาน ได้ให้การวิพากษ์ถึงการดำรงอยู่ และภาวะของสิ่งต่างๆ อัลกุรอานได้อรรถาธิบายให้เห็นถึงความเร้นลับต่าง แห่งการสร้างสรรค์โลกและชั้นฟ้า อวกาศ,พืชพันธุ์ต่างๆ,สัตว์ต่างๆ และชาติพันธุ์มนุษย์,ตลอดทั้งความลับแห่งชีวิตและความตาย,ความยิ่งใหญ่ และความทุกข์ทรมาน,ความเจริญเติบโตและความเสื่อมสลาย,ความมั่งคั่งและความยากจน

เรื่องหนึ่งในบรรดาเรื่องทั้งหลายที่ได้มีการกล่าวถึงไว้ในคัมภีร์ อัลกุรอานั้น ก็คือเรื่อง การสร้างมนุษย์เพศหญิงและเพศชาย ในเรื่องนี้ คัมภีร์ อัลกุรอาน ก็มิได้เงียบเสียงที่จะไม่กล่าวถึง และ อัลกุรอาน ก็ไม่เปิดโอกาสให้แก่คนเหล่านั้นที่พูดในเรื่องเหลวใหลด้วยการสอดใส่ปรัชญาของเขาเองลงไปในตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องของมนุษย์ทั้งเพศชายและเพศหญิง แล้วกล่าวหาว่าอิสลามนั้นมีทัศนะที่หมิ่นแคลนต่อสตรีเพศ โดยใส่ไว้อย่างแข็งกร้าวในทฤษฎีของพวกเขาเอง อิสลามได้วางทัศนะของมันไว้อย่างเรียบร้อยแล้วเกี่ยวกับสตรีเพศ

ถ้าเราต้องการที่จะดูว่า อัลกุรอาน มีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องการสร้างสตรีเพศและบุรุษแล้ว ก็จำเป็นที่จะต้องพิจารณาเข้าไปถึงปัญหาแห่งการสร้างสรรค์ของทั้งสองเพศนั้นว่า ในคัมภีร์แห่งศาสนาอื่นๆ นั้นมีกล่าวไว้อย่างไรบ้าง ซึ่งสิ่งนี้ คัมภีร์ อัลกุอาน ก็มิได้เฉยเมยไม่กล่าวไว้แต่ประการใด เราจะต้องดูว่า คัมภีร์ อัลกุรอาน นั้นถือว่าสตรีและบุรุษนั้นเป็นอินทรีย์เดียวกันหรือเป็นสอง กล่าวอีกนัยหนึ่ง สตรีและบุรุษนั้นมีธรรมชาติแห่งอินทรีย์เป็นหนึ่งเดียวหรือว่าเป็นสอง ในเรื่องนี้ คัมภีร์ อัลกุรอาน ได้ระบุไว้อย่างชัดแจ้งในหลายโองการ เช่นที่ว่า
"เราได้สร้างเพศหญิงจากธรรมชาตินั้นของมนุษย์ และจากอินทรีย์เดียวกันนั้นเหมือนอย่างธรรมชาตแห่งอินทรีย์ของเพศชาย"
(ต่อฉบับหน้า)
อ้างอิง
สรุปจากหนังสือ สิทธิสตรีในอิสลาม







































































วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เพื่อน (ตอนที่2)

بسم الله الرحمان الرحيم

เพื่อน (ตอนที่2)

ครั้งที่แล้ว เราได้คุยกันถึงเรื่อง “เพื่อน” นิยามของคำว่าเพื่อน ความหมายของคำว่า เพื่อน ในทรรศนะของอิสลาม. เพื่อนนั้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชีวิตของแต่ะละบุคคลนั้น ประสบความสำเร็จ หากเพื่อนที่เราคบนั้น ถูกคัดเลือก และมีวิธีในการเลือกที่จะคบ อย่างถูกต้อง.
เมื่อการคบเพื่อนเสมือนเป็นปัจจัยที่สำคัญหนึ่ง ของการดำเนินชีวิต ดังนั้น ก็ต้องมี เกณฑ์ในการเลือกเพื่อน เพื่อให้ได้เพื่อนที่ทำให้ปัจจัยอื่นๆ ในการดำเนินชีวิตของเรานั้นสมบูรณ์แบบ.
ความรัก ความผูกพันธ์ของการคบเพื่อนนั้น ย่อมมีไม่เท่ากัน ไม่มีใครสามารถที่จะบอกได้ว่า เพื่อนที่เราคบอยู่นั้น ไม่ว่าจะมีกี่คนก็ตาม เราให้ความรักเท่ากัน และเหมือนกันหมดทุกคน ถ้าหากว่าเป็นเช่นนั้น นิยามหนึ่งที่ใช้ไว้กับคำว่า “เพื่อน” เช่น “เพื่อนซี้” ก็คงจะไม่มีคุณค่า หรือความหมายอะไร! ดังนั้น เพื่อนจึงมีตำแหน่ง และลำดับของความสำคัญที่ไม่เหมือนกัน. บุคคลที่เราจะให้ไว้เป็นเพื่อนซี้ หรือเพื่อนแท้นั้น ควรเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติ ที่สมบูรณ์ หรือมีเกณฑ์ที่เราได้ตั้งเอาไว้ ครบสมบูรณ์เช่นกัน. เกณฑ์การตัดสิน และให้ลำดับความสำคัญของเพื่อนซี้ ของบุคคลทั่วไปคือ ความรู้สึก ว่าเพื่อนนั้นมีอุปนิสัยใจคอ และคุณลักษณะบางประการที่สามารถเข้ากันได้ดี จึงได้รับความรัก และความผูกพันธ์ฉันท์เพื่อนมากเป็นพิเศษ.
ถึงตรงนี้เกณฑ์การเลือกเพื่อนซี้ ในทรรศนะของอิสลาม ก็ระบุอย่างเด่นชัด เพื่อเป็นการชี้นำให้กับทุกคนว่า ควรเลือกคบเพื่อน ประเภทใด?
ในรายงานหะดีษต่างๆ ได้แบ่งเพื่อนออกเป็นแต่ละประเภท : รายงานหนึ่งที่กล่าวในวันนี้เป็น ;
รายงานจากอิมามซอดิก (อ) กล่าวว่า “เพื่อนนั้นมีขอบเขต บุคคลใดที่ไม่ได้กำหนดเกณฑ์เอาไว้นั้น ถือว่าไม่ใช่เพื่อนแท้ หรือบุคคลที่ไม่มีคุณลักษณะอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด นั่นก็ไม่ใช่เพื่อน.
ลำดับที่หนึ่ง เพื่อนคือ : บุคคลที่เป็นหนึ่งเดียวกับเจ้า ทั้งภายนอกและภายใน.
ลำดับที่สอง เพื่อนคือ : ความงาม และศักดิ์ศรีของเจ้า คือความงาม และศักดิ์ศรีของตัวเอง และสิ่งไม่ดีของเจ้า คือสิ่งไม่ดีของตัวเอง.
ลำดับที่สาม เพื่อนคือ : เมื่อได้มาซึ่งตำแหน่ง และลาภ ยศ ความเป็นเพื่อนก็ยังคงอยู่ ไม่เปลี่ยนแปลง.
ลำดับที่สี่ เพื่อนคือ : ในความเป็นเพื่อน เมื่อเพื่อนมี เพื่อนจะไม่ตระหนี่กับเจ้า.
ลำดับที่ห้า เพื่อนคือ : เพื่อนไม่ทิ้งกันในยามประสบกับปัญหา.”
ทั้งหมดนี้ เป็นเกณฑ์การเลือกคบเพื่อนซี้ หากบุคคลที่เราเลือกจะให้เป็นเพื่อนนั้น มีคุณสมบัติครบสมบูรณ์ตามนี้ แน่นอนต้องขอบอกว่า เขานั้นคือ “เพื่อนซี้” 100 เปอร์เซนต์.
อาจรู้สึกได้ว่า คุณลักษณะดังกล่าวนี้ ย่อมหาได้ยาก แต่ก็ขอบอกว่า อย่าท้อ เพราะการได้มาซึ่งสิ่งที่มีค่า ย่อมมีอุปสรรคมาขวางกั้น. สำหรับฉบับนี้ ฝากไว้กับน้องๆทุกคนน่ะค่ะ เลือกเพื่อนอย่าได้ท้อ เพราะเพื่อน เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ ของชีวิตเราเช่นกัน. ก่อนจากฉบับนี้ ขอฝากรายงานอีกบทหนึ่ง ของท่านอิมามซอดิก (อ) ท่านกล่าวว่า “เพื่อนของบรรดาพี่น้องผู้ศรัทธานั้น เป็นส่วนหนึ่งของศาสนา และบุคคลที่มีสติปัญญา คือผู้ปกป้องศาสนาให้กับท่าน”