วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2552

เพื่อน (ตอนที่ 1)

بسم الله الرحمن الرحيم


ความหมายของคำว่า “เพื่อน”
เพื่อนในทรรศนะของแต่ละคน มความหมาย และให้นิยามไว้ไม่เหมือนกัน นิยามของคำว่า เพื่อน เป็นนิยามที่กลั่นออกมาจากความรู้สึก ความสัมพันธ์ท่มระหว่างกันและกัน เช่น เพื่อน คือคนที่รู้ใจ, เพื่อนแท้ , เพื่อนรัก, เป็นต้น
สำหรับในทรรศนะของอิสลาม คำว่า “เพื่อน” จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. เพื่อนแท้
2. เพื่อนลวง
ความหมายของคำว่า “เพื่อนแท้” ในทรรศนะของอิสลาม เป็นความผูกพันธ์อันลึกซึ้งสมบูรณ์ ซึ่งความสัมพันธืเหล่านี้ บรรดานบี บรรดาอะห์ลุลบัยต์ (อ) และบรรดาผู้ศรัทธา ได้มอบความผูกพันธ์อันบริสุทธิ์ให้กับอัลลอฮ์ (ซ.บ) เพียงองค์เดียว เพราะพระองค์คือ สหายที่แท้จริง ความผูกพันธ์ที่มอบให้กับพระองค์ จะยิ่งเพิ่มพูน และมีความต้องการที่จะแสวงหาความใกล้ชิดยังพระองค์เสมอ ในทุกๆวินาที ซึ่งอัลลอฮ์ (ซ.บ) ทรงกล่าวถึงบรรดาสหายเช่นพวเขาไว้ดังนี้
وَالَّذِينَ آمَنُواْ أَشَدُّ حُبًّا لِّلّهِ “แต่บรรดาผู้ศรัทธานั้น รักอัลลอฮ์มากยิ่งกว่า”
ในความหมายที่สอง “เพื่อนลวง” ทรรศนะอิสลาม คือ ทุกการให้ความรัก และความผูกพันธ์เหนืออื่นจากอัลลอฮ์ (ซ.บ) เช่น การให้ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ในความรัก ความผูกพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์นั้น ย่อมที่จะมีสิ่งดีและไม่ดีตามสถานภาพของความเป็นมนุษย์ ดังนั้น อิสลามได้เสนอแนะเกณฑ์ในการเลือกคบเพื่อน และสร้างแบบอย่างของการคบเพื่อน เพื่อเป็นผลดี และเกิดความสำเร็จในชีวิต
เพื่อนที่ดีนั้น ย่อมพาให้ไปในทางที่ดี และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อนที่ทำให้รำลึกถึงอัลลอฮ์ (ซ.บ) แต่ถ้าในทางกลับกันเพื่อนก็ทำให้เกิดชีวิตหักเห และหลงผิด ด้วยเช่นกัน
ดังนั้นการเลือกคบเพื่อน ย่อมเป็นหัวข้อท่สำคัญอย่ายิ่ สำหรับการดำเนินชีวิต เพราะเรามิอาจที่จะหลีกห่างจากสังคม และการพึ่งพาไม่ได้ ถ้าหากต้องการให้ชีวิต พบสิ่งที่ดี หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยของการเลือกเช่นกัน.
สำหรับฉบับนี้ขอฝากไว้ให้กับน้องๆเยาวชน ที่กำลังมองหาเพื่อนที่ดี เพื่อประดับบารมีให้กับตนเองนะค่ะ สำหรับฉบับหน้าพี่จะนำเสนอวิธีการเลือกคบเพื่อนในแบบฉบับอิสลามมาฝากค่ะ.

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2552

บทบาทวีรสตรีแห่งกัรบะลา

บทบาทวีรสตรีแห่งกัรบะลา

เป็นเวลากว่า 1400 ปี ณ ผืนแผ่นดินกรัรบะลา ได้ถูกจารึกไว้บนหน้าประวัติศาสตรอิสลาม. เป็นสงครามที่ทำให้เกิดความเศร้าสลด เกิดขึ้นในใจของบรรดาผู้ที่มีความรักต่อท่านนบี (ซ.ล). ณ ช่วงเวลาตรงนั้น มาถึงปัจจุบัน จะมีคำถามที่ขึ้นต้นด้วยกับคำว่า ทำไม?. ขอย้อนเวลา กลับไป ณ ท้องทุ่งกัรบะลา ณ ที่ตรงนั้น เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นหลังจากการเสียชีวิตของท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล) เพียง 50 ปี ในปีที่ 61 เป็นปีแห่งการสูญเสียหลานอันเป็นที่รักของท่านศาสดา (ซ.ล) และเป็นปีแห่งการกระชากหน้ากาก ของเหล่าบรรดาที่อ้างตนเองว่าเป็นผู้ที่รักในศาสดา แต่ได้กระทำการป่าเถื่อนกับบุตรหลานของท่าน.
ผู้นำทัพของเหตุการณ์แห่งกัรบะลานั้นคือ ฮุเซน อิบนิ อะลี บุตรชายของท่านอิมาม อะลี อิบนิ อบีฏอลิบ และท่านหญิง ฟาฏิมะฮ์ (ซ)บุตรีของท่านศาสดา (ซ.ล) ถือได้ว่า ท่านเป็นหลานที่มีเลือดเนื้อที่ใกล้ชิดกับท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล). หลานท่านผู้นี้ เป็นผู้ที่ท่านนบีให้ความรัก และให้การดูแล อย่างใกล้ชิด ตลอดจน บรรดาศอฮาบะฮ์ และบุคคลที่รู้จักท่านได้ยินคำกล่าวจากท่าน ที่มีต่อหลานของท่านคนนี้ว่า “ฮุเซน นุม มินนี วะ อะนะ มิน ฮุเซน” ฮุเซนนั้นมาจากฉัน และฉันนั้นมาจากฮุเซน. ใครก็ตามที่ได้ยินคำกล่าวนี้ เขานั้นรู้ดีว่า ท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล) นั้นมีความรัก และผูกพันธ์ ต่อหลานของท่านคนนี้อย่างไร?. แต่เป็นที่น่าฉงนใจ เป็นอย่างยิ่งว่า ทั้งๆที่รู้ว่านี่คือ หลานผู้เป็นที่รักยิ่งของท่านศาสดา แล้วทำไมเหตุการณ์ ปลิดชีพ หลานของท่านจึงเกิดขึ้น?
หลังจากที่เหล่าบุรุษ เด็กหนุ่ม และเด็กทารกน้อยที่มีอายุเพียง 6 เดือน. ได้ถูกสังหารลงหมดสิ้น เหลืือก็เพียงแต่บรรดาสตรี และเด็กๆ ที่ไร้ซึ่งการปกป้อง จากผู้ที่เคยอยู่ใกล้ชิดพวกเขา ไม่ว่าจะเป็น พี่ชาย สามี และลูกชายของพวกนาง ได้ถูกสังหารจนหมดสิ้น. เหตุการณ์อาชูรอนี้ ถือเป็นบทเรียนอันสมบูรณ์ ที่ถูกบันทึกไว้ให้กับคนรุ่นหลัง บทเรียนที่เหล่าบรรดาบุรุษได้ช่วยกันเขียนขึ้น เป็นบทเรียน แห่งความกล้าหาญ และการยืนหยัดศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ซึ่งการดำเนินชีวิตอันแท้จริงนั้น ต้องไม่อยู่ภายใต้ความไร้ซึ่งเกียรติ และศักดิ์ศรี หรือทำให้ตนเองนั้นตกต่ำ เช่นสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งอาจารย์ผู้เริ่มบทเรียนนั้นคือ อิมาม ฮุเซน (อ) และผู้ช่วยของท่านคือ เหล่าบุรุษผู้กล้า ที่ช่วยให้บทเรียนอันมีค่านี้สมบูรณ์ขึ้น. และผู้ที่ทำให้บทเรียนอันล้ำค่านี้ ได้แผ่กระจายไปสู่ประชาชาติอิสลามนั้น ก็คือ เหล่าบรรดาสตรีและเด็ก ที่หลงเหลือจากเหตุการณ์ในวันนั้น. เหตุการณ์ทั้งหมดที่พวกนางได้เห็นทุกมวลภาพ ทุกคำพูดทั้งหลายที่พวกนางได้ยิน ได้รับฟัง และได้กล่าวออกไป เพื่อให้กำลังใจ ต่อเหล่าบรรดาบุรุษผู้กล้าเหล่านั้น. สิ่งที่พวกนางได้ร่วมมือกันเขียนขึ้น เป็นอีกหนึ่งบทเรียนอันล้ำค่า และยิ่งทำให้เหตุการณ์อาชูรอนั้น เป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีวันสูญสลาย หรือถูกลืมเลือน ไม่ว่าจะอยู่ในสมัยใดก็ตาม. บทเรียนแห่งความอดทน บทเรียนแห่งการเสียสละ และการยืนหยัดต่อหน้าเหล่าศัตรูที่จ้องหาโอกาส ที่จะทำลายชื่อเสียงของเหล่าบรรดาบุรุษผู้กล้าเหล่านั้น. พวกนางยืนหยัดปกป้องเกียรติ และศักดิ์ศรีของผู้พลีชีพ และเป็นผู้ป่าวประกาศสาสน์แห่งกัรบะลา และอุดมการณ์ของท่านอิมาม ฮุเซน (อ) ทั้งหมดนี้ มาจากการปฏิบัติของเหล่าบรรดาสตรีแห่งกัรบะลาทั้งสิ้น. และหัวหน้าสตรีที่เป็นผู้ยืนหยัดที่มั่นคง และเป็นเสาหลักให้กับบรรดาสตรีเหล่านั้น คือ ท่านหญิง ซัยหนับ (ซ) บุตรี ของท่านอิมามอะลี (อ) และท่านหญิง ฟาฏิมะฮ์ (ซ) เป็นน้องสาวอันเป็นที่รักยิ่งของท่านอิมามฮุเซน (อ). ความอดทน และความเด็ดเดี่ยวของนางนั้น พี่ชายของนางได้ให้โอวาทไว้กับนาง ก่อนที่ท่านจะถูกสังหาร ไว้ว่า “โอ้น้องเอ๋ย หลังจากการเสียชีวิตของพี่ จงอดทน และจงอย่าปฏิบัติการใด ที่ทำให้ศัตรูนั้นดีใจ”
ทั้งหมดนี้คือ บทบาทของเหล่าบรรดาสตรี และผู้ที่ทำให้อุดมการณ์ของอิมาม ฮุเซน (อ) ได้คงอยู่ตลอดไป ไม่ว่าจะเกิดในยุคใดๆก็ตาม.